LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร

usericon

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                  รหัสวิชา ค23101
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร                        เวลาเรียน 22 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 พื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิด                    เวลาเรียน 4 ชั่วโมง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3                                 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
ชื่อผู้สอน นางศศินภา ธรรมกุล                                ตำแหน่ง ครู คศ.3 …………………………………………………………………………………………………………………………
1. เป้าหมายการเรียนรู้
1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐานการเรียนรู้ ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
ตัวชี้วัด    
1. หาพื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอก
มาตรฐานการเรียนรู้ ค 2.2 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
ตัวชี้วัด
1. ใช้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ พื้นที่ผิวและปริมาตรในการแก้ปัญหาในถานการณ์ ต่าง ๆ
    สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐานการเรียนรู้ ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
                ตัวชี้วัด
                1. อธิบายลักษณะและสมบัติของปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และ ทรงกลม

    1.2 จุดเน้นที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนตามช่วงวัย
สมรรถนะสำคัญฯ
และในประชาคมอาเซียน    ทักษะการคิด    คุณลักษณะอันพึงประสงค์ฯ
และในประชาคมอาเซียน
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
•    ความสามารถในการคิด
•    ความสามารถในการแก้ปัญหา
สมรรถนะในการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน
•    Problem Solving
•    Thinking    •    ทักษะการคิดคำนวณ
•    ทักษะการคิดวิเคราะห์
•    ทักษะการคิดสรุปความ
•    ทักษะการคิดแปลความ
•    ทักษะการให้เหตุผล    คุณลักษณะอันพึงประสงค์
•    ใฝ่เรียนรู้
•    มุ่งมั่นในการทำงาน
คุณลักษณะของนักเรียนในประชาคมอาเซียน
•    มี Personal Spirit

1.3 ความคิดรวบยอด
        


1.4 สาระการเรียนรู้
    1. ปริซึม คือรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีหน้าที่อยู่ในระนาบที่ขนานกันหนึ่งคู่เป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ การเรียกชื่อปริซึมมักเรียกชื่อตามลักษณะของฐาน เช่น ปริซึมสามเหลี่ยมด้านเท่า ปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก เป็นต้น     2. พื้นที่ผิวของปริซึม หมายถึง ผลรวมพื้นที่ผิวทุกหน้าของปริซึม ซึ่งจะได้ว่า

    3. พีระมิด คือ รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานอยู่ในระนาบหนึ่ง ด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดมุมร่วมกันที่จุดๆ หนึ่ง โดยจุดยอดมุมจุดนี้ยังไม่อยู่ในระนาบของฐาน
    4. พีระมิดตรง คือ ถ้าลากเส้นจากจุดยอดมุมมาตั้งฉากกับฐาน แล้วจุดที่ตั้งฉากกับฐานอยู่ห่างจากมุมที่ฐานเป็นระยะเท่ากัน
    5. พีระมิดเอียง คือ ถ้าลากเส้นจากจุดยอดมุมมาตั้งฉากกับฐาน แล้วจุดที่ตั้งฉากกับฐานอยู่ห่างจากมุมที่ฐานเป็นระยะไม่เท่ากัน
6. พื้นที่ผิวของพีระมิด คือ ผลรวมของพื้นที่ผิวทุกหน้าของพีระมิด ซึ่งจะได้ว่า

1.5 จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. บอกลักษณะและสมบัติของปริซึมได้
    2. บอกลักษณะและสมบัติของพีระมิดได้
    3. บอกขั้นตอนการคำนวณหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิดได้
ด้านทักษะกระบวนการ
4. คำนวณหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิดได้
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
5. ใฝ่เรียนรู้
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. มี Personal Spirit
2. หลักฐานการเรียนรู้
    ภาระงาน
1. กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 1
2. กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 2
3. แบบฝึกหัด 1
ชิ้นงาน
1. รูปปริซึม ได้แก่ ปริซึมสามเหลี่ยมด้านเท่า ปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก ปริซึมสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัส ปริซึมแปดเหลี่ยมด้านเท่า
2. รูปพีระมิด ได้แก่ พีระมิดสามเหลี่ยมด้านเท่า พีระมิดสามเหลี่ยมมุมฉาก พีระมิดสี่เหลี่ยมผืนผ้า พีระมิดสี่เหลี่ยมจัตุรัส พีระมิดแปดเหลี่ยมด้านเท่า
3. บัตรโจทย์ปัญหา
4. ผังกราฟฟิค เรื่องการหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิด

3. กิจกรรมการเรียนรู้
วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
        ชั่วโมงที่ 1-2 (พื้นที่ผิวของปริซึม)
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
        1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งของที่พบในชีวิตประจำวันที่มีลักษณะเป็นรูปสามมิติ เช่น กล่องนม ลูกบอล โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างและให้ความหมายว่าทำไมนักเรียนถึงคิดว่าเป็นรูปสามมิติ
        ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา
    2. ครูนำแบบรูปเรขาคณิตสามมิติต่างๆ เช่น ปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และทรงกลม มาให้นักเรียนพิจารณา ต่อจากนั้นครูซักถามนักเรียนว่ารู้จักรูปเรขาคณิตต่อไปนี้หรือไม่ โดยครูหยิบขึ้นมาทีละอันแล้วให้นักเรียนบอกชื่อ ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ ครูควรแนะนำให้รู้จัก
    3. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น กลุ่มละ 4-5 คนจากนั้น ครูนำภาพของปริซึมแบบต่างๆ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษารูปทรงปริซึม แล้วนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสร้างรูปปริซึม มากลุ่มละ 1 ชิ้น ตามที่ครูกำหนดให้ ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ปริซึมสามเหลี่ยมด้านเท่า
        กลุ่มที่ 2 ปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก
        กลุ่มที่ 3 ปริซึมสี่เหลี่ยมผืนผ้า
        กลุ่มที่ 4 ปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัส
        กลุ่มที่ 5 ปริซึมแปดเหลี่ยมด้านเท่า
4. ให้นักเรียนบอกฐานของปริซึม และส่วนสูงของปริซึมที่นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสร้างขึ้นมา แล้ว
นำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนๆ ได้ทราบและสรุปช่วยกัน ดังนี้

    









    


5. ครูนำกล่องกระดาษปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งมีด้านกว้าง 6 หน่วย ด้านยาว 10 หน่วย และด้านสูง 3 หน่วย มาให้นักเรียนสังเกตว่ามีกี่ด้าน ต่อจากนั้นครูแกะออกและซักถามนักเรียนว่าภาพที่เกิดขึ้นเป็นรูปเรขาคณิตหรือไม่ และเรียกว่าอย่างไร (เป็นรูปเรขาคณิตสองมิติ และมีด้านทั้งหมด 6 ด้าน) ดังนี้



                





    
        ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
    6. ครูอธิบายว่าจากการพิจารณาข้างต้นโดยการซักถามดังนี้เมื่อพิจารณารูปจะเห็นว่าปริซึมมีหกหน้า    
            เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขนาด 3  6 ตารางหน่วย กี่รูป (2 รูป)             เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขนาด 3  10 ตารางหน่วย กี่รูป (2 รูป)             เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขนาด 6  10 ตารางหน่วย กี่รูป (2 รูป)
7. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่าจากข้างต้นเราจะได้พื้นที่ผิวเท่ากับ 2(3  6) + 2(3 10) + 2(6  10) = 216 ตารางหน่วย ต่อจากนั้นครูให้นักเรียนอภิปรายหาข้อสรุปเกี่ยวกับการหาพื้นที่ผิวของปริซึม ซึ่งจะได้ว่า พื้นที่ผิวของปริซึมจะหมายถึง ผลรวมพื้นที่ผิวทุกหน้าของปริซึม และครูอธิบายต่อไปว่าในการเรียกชื่อหน้าของปริซึม จะเรียกหน้าสองหน้าที่มีพื้นที่เท่ากันทุกประการว่าฐานหรือหน้าตัด และเรียกหน้าอื่นๆ ที่เหลือว่าผิวข้าง ให้นักเรียนสรุปสูตรการหาพื้นที่ผิวข้างของปริซึมอีกครั้ง ซึ่งจะได้ว่า

    



        
        
        
        ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้
    8. ให้นักเรียนศึกษาการหาพื้นที่ผิวของปริซึมจากตัวอย่างที่ 1 โดยครูเป็นผู้ซักถามและอธิบายไปพร้อมๆ กันบนกระดานดำ ดังนี้
                ตัวอย่างที่ 1 จงหาพื้นที่ผิวของปริซึมต่อไปนี้


        



    9. ครูให้นักเรียนช่วยกันสรุปความหมายของปริซึม และสังเกตการเรียกชื่อของปริซึม

    
    10. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสูตรการหาพื้นที่ผิวของปริซึม

        
        
        ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (ตรวจสอบผล)
        11. ครูวาดรูปบนกระดานแล้วให้นักเรียนช่วยกันหาพื้นที่ผิวของปริซึมจนนักเรียนเข้าใจ ต่อจากนั้นครูให้นักเรียนทำกิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 1 เป็นการบ้าน โดยครูกำหนดวันและเวลาส่ง

ชั่วโมงที่ 3 (พื้นที่ผิวของพีระมิด)
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
    1. ครูสนทนากับนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องของปริซึมที่เรียนมาในชั่วโมงที่แล้วโดยการตั้งคำถาม เช่น - ปริซึมมีลักษณะอย่างไร
    - สูตรการหาพื้นที่ผิวของปริซึมมีว่าอย่างไร
    - ยกตัวอย่างโจทย์ให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบ
    2. ครูสนทนาทบทวนสูตรการหาพื้นที่ของปริซึมโดยการซักถาม ต่อจากนั้นครูแสดงภาพตัวอย่างของพีระมิดแบบต่างๆ ให้นักเรียนพิจารณาว่ามีลักษณะอย่างไร และจะเรียกชื่อตามลักษณะของอะไร


        



    3. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงผลที่ได้จากการพิจารณาภาพข้างต้น จนสรุปเป็นบทนิยามของพีระมิดได้ดังนี้
        ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา
    4. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้ในหนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน แล้วครูนำเสนอแผ่นป้ายความรู้เรื่องส่วนต่างๆ ของพีระมิด ดังนี้





แล้วให้นักเรียนสนทนาและสรุปจากรูปว่าส่วนต่างๆ ของพีระมิดประกอบด้วยส่วนใดบ้าง และการเรียกชื่อ
ส่วนต่างๆ ของพีระมิด จะอาศัยหลักการใดในการเรียกชื่อ
5. ครูสนทนากับนักเรียนถึงเรื่องพีระมิดจนได้ว่า พีระมิดแบ่งได้ดังนี้     


    
6. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น กลุ่มละ 4-5 คนจากนั้น ครูนำภาพของพีระมิดแบบต่างๆ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษารูปทรงพีระมิด แล้วนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสร้างรูปพีระมิด มากลุ่มละ 1 ชิ้น ตามที่ครูกำหนดให้ ได้แก่
กลุ่มที่ 1 พีระมิดสามเหลี่ยมด้านเท่า
        กลุ่มที่ 2 พีระมิดสามเหลี่ยมมุมฉาก
        กลุ่มที่ 3 พีระมิดสี่เหลี่ยมผืนผ้า
        กลุ่มที่ 4 พีระมิดสี่เหลี่ยมจัตุรัส
        กลุ่มที่ 5 พีระมิดแปดเหลี่ยมด้านเท่า
7. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำกล่องกระดาษพีระมิดที่สร้างมานำเสนอหน้าห้อง แล้วให้นักเรียนพิจารณา
จากการแกะกล่องกระดาษพีระมิดออก ให้นักเรียนช่วยกันสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนี้
-    มีฐานเป็นรูปอะไร
-    มีด้านข้างเป็นรูปอะไร จำนวนเท่าใด
ตัวอย่าง


-    มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
-    มีด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม จำนวน 4 รูป    
        8. ให้นักเรียนสำรวจว่าการพื้นที่ผิวของพีระมิดหาได้จากส่วนใดบ้าง พร้อมให้แต่ละกลุ่มออกมาอภิปรายหน้าชั้น
        ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
9. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายสูตรการหาพื้นที่ผิวของพีระมิดโดยครูเป็นผู้ซักถามนำทาง ซึ่งจะได้ดังนี้
            
10. ครูทบทวนความรู้โดยให้นักเรียนช่วยกันบอกชื่อส่วนต่าง ๆ ของพีระมิด



            11. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสูตรการหาพื้นที่ผิวของพีระมิด
        
    

ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้
12. ครูนำเสนอตัวอย่างที่ 2 ให้นักเรียนศึกษาและทำความเข้าใจโดยครูเป็นผู้อธิบายดังนี้
        ตัวอย่างที่ 2 จงหาพื้นที่ผิวของพีระมิดต่อไปนี้
            1. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสฐานยาวด้านละ 12 เซนติเมตร สูงเอียงยาว 10 เซนติเมตร
            2. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสฐานยาวด้านละ 20 เซนติเมตร ส่วนสูงยาว 24 เซนติเมตร             3. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสฐานยาวด้านละ 10 เซนติเมตร สันด้านข้างยาว 13 เซนติเมตร
13. ให้นักเรียนช่วยกันวาดรูปจากโจทย์ที่กำหนดให้และหาพื้นที่ผิวทั้งหมด ซึ่งจะได้ดังนี้             1. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสฐานยาวด้านละ 12 เซนติเมตร สูงเอียงยาว 10 เซนติเมตร



              พื้นที่ผิวของพีระมิด     = พื้นที่ฐาน + พื้นที่ผิวข้าง             = (12  12) + ตารางเซนติเมตร                                 = 144+ 240 ตารางเซนติเมตร                                 = 384    ตารางเซนติเมตร             ดังนั้น พีระมิดมีพื้นที่ผิว 384 ตารางเซนติเมตร
            14. ให้นักเรียนช่วยกันทำข้อ (2) และ (3) ต่อบนกระดาน โดยครูเป็นผู้ซักถามและแนะนำ
        ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (ตรวจสอบผล)
15. ให้นักเรียนช่วยกันตั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่ผิวของพีระมิด โดยทำในลักษณะบัตรโจทย์ปัญหา แล้วให้หาคำตอบ ซัก 2-3 ตัวอย่าง ครูตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนว่าเข้าใจการหาพื้นที่ผิวของพีระมิดหรือเปล่า หลังจากนั้นให้นักเรียนทำกิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 2 เป็นการบ้าน โดยครูกำหนดวันและเวลาส่ง

    ชั่วโมงที่ 4 (พื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิด)
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
1. ครูสนทนากับนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องของปริซึมและพีระมิดที่เรียนมาในชั่วโมงที่แล้วโดยการตั้งคำถาม เช่น
- ปริซึมมีลักษณะอย่างไร
        - พีระมิดมีลักษณะอย่างไร
        - จำนวนหน้าของพีระมิดขึ้นอยู่กับจำนวนอะไร
- การเรียกชื่อของพีระมิดจะเรียกตามอะไร    
        - สูตรการหาพื้นที่ผิวของปริซึมมีว่าอย่างไร
        - สูตรการหาพื้นที่ผิวของพีระมิดมีว่าอย่างไร
        - ยกตัวอย่างโจทย์ในการหาพื้นที่ผิวของพีระมิดและปริซึมให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบ
            2. สุ่มให้นักเรียนออกมาเฉลยกิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 2 โดยครูตรวจสอบความถูกต้อง และให้คำชมเชยแก่นักเรียนที่ทำถูกต้องและส่งงานตรงตามเวลา แล้วให้นักเรียนที่ทำผิดแก้ไขให้ถูกต้อง
    3. ครูสนทนาซักถามนักเรียนเกี่ยวกับการหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิด เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจ เช่น
        - สูตรการหาพื้นที่ผิวปริซึมว่าอย่างไร
        - สูตรการหาพื้นที่ผิวของพีระมิดว่าอย่างไร จงอธิบาย         - อื่นๆ

        ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา
    4. ให้นักเรียนแบ่งเป็นทีม 4 ทีม ให้นักเรียนแข่งกันหาคำตอบของโจทย์ที่ครูกำหนดให้ โดยแต่ละทีมจะได้โจทย์ไม่เหมือนกัน เมื่อครูแจกโจทย์ให้นักเรียนแล้ว ให้กลับไปช่วยกันคิดและรีบกลับนำมาเขียนบนกระดาน ทีมใดเสร็จก่อนและคำตอบถูกต้อง ทีมนั้นจะเป็นฝ่ายได้รับรางวัลไป เช่น
        - พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานยาวด้านละ 20 นิ้ว ความสูง 28 นิ้ว จะมีพื้นที่ผิวเป็นเท่าไร
        - ปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก ความยาวของด้านประกอบมุมฉากของรูปสามเหลี่ยมเป็น 10 และ 24 เซนติเมตร ปริซึมหนา 13 เซนติเมตร จงหาพื้นที่ผิวของปริซึมนี้ เป็นต้น
        
        ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสูตรการหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิดรวมถึงขั้นตอนวิธีการหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิด
            ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้
        6. ครูเสนอบัตรโจทย์ปัญหา 2-3 ตัวอย่าง แล้วให้หาคำตอบ หลังจากนั้นครูตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนว่าเข้าใจการหาพื้นที่ผิวของพีระมิด
        ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (ตรวจสอบผล)
        7. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด 1 เป็นการบ้าน โดยครูกำหนดวันและเวลาในการส่ง ครูอาจนำเฉลยไปติดไว้ที่ป้ายนิเทศเพื่อให้นักเรียนศึกษาข้อที่ทำผิดต่อและแก้ไขให้ถูกต้อง
        8. ให้นักเรียนเขียนผังกราฟฟิคเรื่องการหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิดเป็นรายบุคคล แล้วนำมาส่งในชั่วโมงถัดไป

4. สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้
    1. หนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1 โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
2. รูปเรขาคณิตสามมิติต่างๆ เช่น ปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และทรงกลม
3. รูปปริซึม
4. กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 1
5. แผ่นป้ายความรู้เรื่องส่วนต่างๆ ของพีระมิด
6. รูปพีระมิด
7. บัตรโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่ผิวของพีระมิด
8. กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 2


9. แบบฝึกหัด 1
10. ผังกราฟฟิคเรื่องการหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิด


5. การวัดและการประเมินผล    
รายงานประเมิน
    วิธีการวัดและประเมิน/หลักฐานการเรียนรู้
( ภาระงาน/ชิ้นงาน)    เครื่องมือวัดผล และประเมินผล    เกณฑ์การวัดและประเมินผล
ด้านความรู้ : K
1. บอกลักษณะและสมบัติของปริซึมได้
2. บอกลักษณะและสมบัติของพีระมิดได้
3. บอกขั้นตอนการคำนวณหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิดได้
    ภาระงาน
•    กิจกรรมตรวจสอบความ
เข้าใจ 1
•    กิจกรรมตรวจสอบความ
เข้าใจ 2
•    ผังกราฟฟิคเรื่องการ
หาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิด

ชิ้นงาน
•    รูปปริซึม
•    รูปพีระมิด    เครื่องมือวัดผล
•    กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 1
•    กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 2
•    แบบประเมินผลงาน

การประเมินผล
•    ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน
ในกิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ1,2
•    ตรวจสอบความสมบูรณ์
เกี่ยวกับเนื้อหาในผังกราฟฟิค
เรื่องการหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิด
•    ตรวจสอบความสมบูรณ์
ของส่วนประกอบในรูป
ปริซึมและพีระมิด    





•    ได้คะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ 80 ขึ้นไป
•    ได้ระดับ“ดี” ขึ้น
ไป


•    ได้ระดับ“ดี” ขึ้น
ไป

ด้านทักษะ/กระบวนการ:P
4. คำนวณหาพื้นที่ผิวของปริซึมและพีระมิดได้
    ภาระงาน
•    แบบฝึกหัด 1

ชิ้นงาน
•    บัตรโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
การหาพื้นที่ผิวของพีระมิด     เครื่องมือวัดผล
•    แบบฝึกหัด 1

การประเมินผล
•    ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน
ในแบบฝึกหัดและบัตรโจทย์ปัญหา    


•    ได้คะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ 80 ขึ้นไป
ด้านคุณลักษณะ:A
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
•    ใฝ่เรียนรู้
•    มุ่งมั่นในการทำงาน

คุณลักษณะของนักเรียนในประชาคมอาเซียน
•    มี Personal Spirit    •    แบบประเมิน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
•    แบบสังเกตการตอบ
คำถามและการร่วมกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
    เครื่องมือวัดผล
•    แบบประเมินคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์


•    แบบสังเกตการตอบคำถามและ
การร่วมกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
การประเมินผล
•    ประเมินคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์
•    สังเกตการตอบคำถามและ
การร่วมกิจกรรมหน้าชั้นเรียน    





•    ได้ระดับ “ดี”
ขึ้นไป
•    ได้ระดับ “ดี”
ขึ้นไป

6. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
......................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ว่าที่ ร.ต.
(อานนท์ กระบอกโท)
ผู้อำนวยการโรงเรียนสกลทวาปี
7. บันทึกผลหลังกระบวนการจัดการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

8. ปัญหา/อุปสรรค.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
9. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ชื่อ..........................................ผู้สอน
                                 (นางศศินภา ธรรมกุล)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^