รูปแบบเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมกาาอ่าน-ครูเพ็ญนิภา
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย: นางเพ็ญนิภา นนทเภท ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน: โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา: 2560
บทคัดย่อ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3)เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4)เพื่อประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน ได้มา จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธี การจับสลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่ม ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 27 ข้อ และ 2) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในทดลองใช้ มี 4 ชนิด ดังนี้ 1) หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน จำนวน 5 เรื่อง ๆ ละ 5 แผน รวมทั้งหมด 25 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบแบบคู่ขนาน 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4)แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรูปแบบ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น และปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าที และค่าดัชนีประสิทธิผล
ปรากฏผลการวิจัยและพัฒนา ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผลดังนี้
1.1 สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3อยู่ในระดับปานกลาง
1.2 ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหา เรื่อง การอ่านและการเขียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนา การหาคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผลดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
2.3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.84/86.05
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผลดังนี้
3.1 ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7754 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.54
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียน ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก
4. ผลประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด