LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

รายงานการประเมินโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู

usericon

ชื่อผลงาน    รายงานการประเมินโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู
        โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community)”
        โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561-2562
ผู้รายงาน    นายวัชรศักดิ์ สงค์ปาน
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2561-2562

บทสรุป

    รายงานการประเมินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561-2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู 3) ความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู 4) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินการโครงการ และ5) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 5.1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 5.2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ม.3 และชั้น ม.6 5.3) สมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และ 5.4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง1) กลุ่มตัวอย่างครูปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 80 คน 2) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 320 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 และ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 320 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 11 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .83 - .95 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ม.3 และชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561-2562 ตามสภาพจริง และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.25, S.D. = 0.25) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.52, S.D. = 0.32) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
2.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.32, S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.68, S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
3.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.49, S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.89, S.D. = 0.38) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด


4.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.30, S.D. = 0.37) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.76, S.D. = 0.35) มีคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.26, S.D. = 0.47) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.66, S.D. = 0.45) มีคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครอง ต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561 – 2562 พบว่า
ปีการศึกษา 2561 ทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.37, S.D. = 0.43) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.67 S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด

        4.4    ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561-2562 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.21, S.D. = 0.33) อยู่ในระดับมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.61, S.D. = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.5    ผลการประเมินด้านคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
    4.5.1    ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561-2562
        ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ย GPA ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา เท่ากับ 2.88 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ย GPA ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา เท่ากับ 2.92 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.5.2    ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้น ม.3 และ ชั้น ม.6 โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า
        ปีการศึกษา 2561 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มีค่าคะแนนชั้น ม.3 มีค่าคะแนนเฉลี่ย 36.65 ปีการศึกษา 2562 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.26 โดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง -2.39
        ส่วนผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2561 มีค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 31.25 ปีการศึกษา 2562 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 27.72 โดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง -3.53 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 0 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.5.3    ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561 – 2562 พบว่า
        ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมสมรรถนะสำคัญของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ทั้ง 5 สมรรถนะอยู่ในระดับดีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 % (ระหว่าง 84.20-85.78) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมสมรรถนะสำคัญของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาทั้ง 5 สมรรถนะอยู่ในระดับดีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 85 (ระหว่าง 87.30-88.04) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.5.4    ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนเมืองถลาง ปีการศึกษา 2561 – 2562 พบว่า
        ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการ อยู่ในระดับดีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 90 ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการ อยู่ในระดับดีขึ้นไป มากกว่า ร้อยละ 95 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    สรุปผลการประเมินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2561 – 2562 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 98 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.    กิจกรรมเรียนรู้สู่การปฏิบัติ : การออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยจับคู่ PLC และนำเสนอผลงาน ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่ความยั่งยืน
2.     ฝ่ายบริหารควรตรวจสอบ ID-PLAN และ LOG BOOK PLC ของครู อย่างต่ออเนื่อง เพื่อกระตุ้นสู่ความยั่งยืน
3.    โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์ หรือ เผยแพร่ผลสำเร็จที่เกิดกับโรงเรียน ครู และนักเรียน ให้กว้างยิ่งขึ้น
4.     โรงเรียนควรกำหนดมาตรการที่เป็นแรงจูงใจ เชิงบวกกรณีที่ครูสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยตรวจสอบพัฒนาการของคุณภาพผู้เรียน ครอบคลุม 1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน 3) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญ และ 4) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง

ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1.    ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับกลุ่มงาน หรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
    2.    ควรวิจัยพัฒนาศักยภาพของชุมชนในโรงเรียน และองค์กร เครือข่ายความร่วมมือจากกลุ่ม หรือหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาชุมชนโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^