ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
การจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ผู้วิจัย นางสุดฤดี อินทมาตย์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีจุดประสงค์เพื่อ
ศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรม
ศิลปะสร้างสรรค์ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุ 3 - 4 ปี
ที่กาลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) สังกัดเทศบาล
เมืองโพธาราม อาเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2562 จานวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ แผนการจัดประสบการณ์
โดยใช้การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และแบบประเมินเพื่อวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาคะแนนเฉลี่ย (x-bar) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อ
ศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้ค่าแจกแจง t-test
แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1หลังการจัด
ประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ นักเรียนมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กโดย
รวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความสามารถในการควบคุมในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
และด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา อยู่ในระดับสูงทุกด้าน
2. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยรวมหลังจากได้รับ
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 9.273)
และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถ
ในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กทั้งด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความยืดหยุ่นใน
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความสามารถในการควบคุมในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านการประสาน
สัมพันธ์ระหว่างมือกับตา มีระดับความสามารถสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ อย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 6.535, 8.739, 8.242 และ 9.511) ตามลาดับ