รายงานการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงย
การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 โดยใช้รูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP MODEL) ของ Daniel L. Stufflebeam. มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตก่อนและหลังสิ้นสุดของโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1
การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( X = 4.32, S.D. = 0.46)และพบว่าด้านผลผลิต มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.58, S.D. = 0.59 ) ส่วนผลการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงยในแต่ละด้าน สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( X = 4.18, S.D. = 0.35) และพบว่าการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการอาหารกลางวันมีความเหมาะสมและปฏิบัติได้จริง มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( X = 4.29, S.D. = 0.46)
2. ผลการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( X = 4.28, S.D. = 0.32) และพบว่าโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมภายในโรงอาหาร มีที่นั่งรับประทานอาหารเพียงพอ สถานที่ประกอบอาหาร สถานที่รับประทานอาหาร สถานที่จัดเก็บภาชนะใส่อาหารสะอาด ถูกสุขลักษณะ มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( X = 4.78, S.D. = 0.10)
3. ผลการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.24, S.D. = 0.58) และพบว่าโรงเรียนมีการใช้วิธีการและเครื่องมือในการประเมินผลได้อย่างเหมาะสม มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( X = 4.83, S.D. = 0.37)
4. ผลการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ด้านผลผลิตก่อนดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.89, S.D. = 0.63) และพบว่าโรงเรียนมีการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายและโรงเรียนมีการจัดอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนอย่างทั่วถึงและปริมาณที่เพียงพอ มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( X = 4.50, S.D. = 0.50) ส่วนผลการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านบาโงย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ด้านผลผลิตหลังดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.58, S.D. = 0.59) และพบว่าโรงเรียนมีการจัดอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนอย่างทั่วถึงและปริมาณที่เพียงพอ มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด (X = 4.87, S.D. = 0.32) ส่วนด้านผลผลิตระหว่างก่อนและหลังดำเนินโครงการ พบว่าผลผลิตหลังดำเนินโครงการ มีผลการประเมินเพิ่มขึ้น 0.69 และพบว่าโรงเรียนและชุมชนวางแผนร่วมกันสร้างผลผลิตทางการเกษตรเพื่อโครงการอาหารกลางวัน มีผลการประเมินเพิ่มขึ้น 1.10
5. ผลการประเมินความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของโครงการอาหารกลางวันโรงเรียน บ้านบาโงย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 โดยเรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ผลปรากฏว่าเป็นโครงการที่ดีมาก มีความถี่มากสุด( F = 65) และโครงการอาหารกลางวันสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนได้ มีความถี่น้อยที่สุด( F = 42)