รายงานผลชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ PBL เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ รายวิชาชีววิทยา 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ รายวิชาชีววิทยา 1 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2561 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมุติฐาน ประกอบด้วย ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X-bar ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และและการทดสอบค่าที (t-test dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.86/82.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้
ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย
หลังเรียน (X-bar = 33.09, S.D. = 1.64) สูงกว่าก่อนเรียน (X-bar = 15.38, S.D. = 1.23)
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง
เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.91, S.D. = 0.31)