การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียน
ชื่อผู้รายงาน นางศศิรัตน์ คล้ายเข็ม
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองตาแต้ม (ราชประชานุxxxล) สังกัดองค์การบริหารส่วน ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
บทคัดย่อ
รายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 4) ประเมินผลผลิตของโครงการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ5) ประเมิน ผลกระทบของโครงการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 9 คน นักเรียน จำนวน 123 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 123 คน รวมทั้งสิ้น 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายประเด็นตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ประเด็นโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูไว้ชัดเจน รองลงมาคือ ประเด็นกิจกรรมของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ประเด็นวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนสอดคล้องกับหลักการและเหตุผลของโครงการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายประเด็นตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ประเด็นสื่อ/เครื่องมือการนิเทศมีความเหมาะสมชัดเจน รองลงมาคือ ประเด็นคู่มือการดำเนินโครงการมีรายละเอียด ชัดเจน เข้าใจง่าย และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ประเด็นหน่วยงานต้นสังกัดสนับสนุนการดำเนินตามโครงการ
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านความสามารถบริหารโครงการ ลำดับที่ 2 ด้านการวางแผนการนิเทศ ลำดับที่ 3 ด้านการดำเนินงานตามแผน และลำดับที่ 4 ด้านการประเมินผลและปรับปรุง ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านผลการประเมินดังนี้
4.1 ผลการปฏิบัติงานด้านกระบวนการการนิเทศภายใน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการปฏิบัติงานด้านทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามความคิดเห็น
ของผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4.3 ผลการปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามความคิดเห็น ของผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4.4 ผลการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและ
นักเรียน พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
4.5 ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามความคิดเห็นของ
ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
5. ด้านผลกระทบต่อโครงการ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านที่เกี่ยวกับโรงเรียน ลำดับที่ 2 ด้านที่เกี่ยวกับผู้เรียน และลำดับที่ 3 ด้านที่เกี่ยวกับครูผู้สอน นอกจากนี้ ปี 2560 – 2562 นักเรียนได้รับรางวัลต่างๆ จำนวน 57 รางวัล ครูได้รับรางวัล จำนวน 29 รางวัล และโรงเรียนได้รับรางวัล จำนวน 9 รางวัล