LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ผลการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์นิทาน

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                 :     ผลการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์นิทานคำคล้องจอง                             ชั้นเด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง                                         อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ผู้ศึกษา                : นางนิตย์ เงินฝรั่ง
ปีที่ศึกษา                :        ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
................................................................................................................................................................
        การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์นิทานคำคล้องจอง ชั้นเด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง อำเภอ แม่สาย จังหวัดเชียงราย และเพื่อศึกษาการมีพัฒนาการของทักษะการฟัง และการพูด โดยการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์นิทานคำคล้องจอง ก่อนการจัดกิจกรรมและหลังการจัดกิจกรรมในชั้นเด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชั้นเด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี) จำนวน 72 คน 4 ห้องเรียน ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชั้นเด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี) ห้อง 4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย หนังสือเสริมประสบการณ์นิทานคำคล้องจอง จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ด้านการฟังและการพูด โดยใช้ชุดฝึกเสริมประสบการณ์นิทานคำคล้องจอง และแบบทดสอบทักษะทางภาษา ด้านการฟังและการพูด วิเคราะห์ข้อมูลและใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
    ผลจากการศึกษาค้นคว้า
1.    หนังสือเสริมประสบการณ์นิทานคำคล้องจอง ได้สร้างขึ้นทั้ง 8 เล่ม โดยภาพรวม พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.69/90.25 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ได้ตั้งไว้ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐาน ที่ได้ตั้งไว้ในข้อที่ 1 ทั้งนี้เป็นเพราะว่าหนังสือเสริมประสบการณ์ ที่ได้สร้างขึ้นแล้วผ่านขั้นตอนของการทดลองหาประสิทธิภาพ จำนวน 3 ขั้นตอน ในกลุ่มทดลองซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างชั้นเด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการและผ่าน การประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ และแฝงคุณธรรมด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานการเรียนรู้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 และ พ.ศ.2560 อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงเหมาะสมกับวัยของนักเรียนชั้นเด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี) เนื่องจากมีองค์ประกอบครบถ้วนถูกต้อง เนื้อหามีภาพประกอบสอดคล้องกัน มีสีสันสวยงาม สะดุดตา และรูปเล่ม สวยงาม คงทนถาวร ดังที่กุศยา แสงเดช (2553 : 16) ได้กล่าวโดยสรุปได้ว่า ลักษณะของภาพประกอบที่ปรากฏในหนังสือต้องมีสีสันสวยงามสอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่อง ปกสวยงาม ตัวอักษรชัดเจน มียากง่ายเหมาะสมกับวัยของนักเรียน สอดคล้องกับจินตนา ใบกาซูยี (2552 : 124) และสนิท สัตโยภาส (2553 : 21-23) และฉวีวรรณ คูหาภินันทน์ (2552 : 194) ตลอดจน อภิวรรณ วีระสมิทธ์ (2557 : 9-15) ได้กล่าวเช่นเดียวกันว่าจะต้องมีภาพและสีสันสวย สามารถอธิบายเนื้อเรื่องได้ อาจเสนอเนื้อเรื่องในรูปของนิทาน คำคล้องจองที่มีคติสอนใจแทรกอยู่ไม่สอนตรง ๆ ดังนั้น หนังสือเสริมประสบการณ์จึงเหมาะสมที่จะได้นำเสนอในรูปแบบของนิทานคำคล้องจองแฝงคุณธรรมเหมาะสมในการนำไปใช้จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์และ มีการเย็บเล่มที่ถาวรสวยงามทนทานน่าอ่าน สอดคล้องกับผลการศึกษาของ พิชญาดา ธาตุอินจันทร์ (2551 : 65) ได้สร้างหนังสือนิทานภาพ เพื่อฝึกทักษะและพัฒนาการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยในระดับชั้นอนุบาล ปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเวียง ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า หนังสือนิทานภาพที่สร้างขึ้น จำนวน 5 เล่ม มีคุณภาพทำให้เด็กมีพัฒนาการในการพูดและการฟังในระดับดีมาก และสอดคล้องกับปิ่นแก้ว แสงแก้ว (2554 : 67) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาหนังสือนิทานภาพบทร้อยกรองกลอนสี่ สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็กโรงเรียนบ้านป่ากว๋าว อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 พบว่า หนังสือนิทานร้อยกรองที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ โดยรวมเท่ากับ 80.95/81.20 เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ที่ร้อยละ 80/80 และสอดคล้องกับพิมผกา ภีระบัน (2554 : 95) ได้สร้างหนังสือนิทานคำคล้องจองกิจกรรมเสริมประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโป่ง อำเภอแม่สาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 20 คน ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า หนังสือนิทานคำคล้องจองที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/81.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้เท่ากับ 80/80 และสอดคล้องกับฐิติพร มะเดือชุมพร (2553 : 69) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ การสร้างหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนเมือง ตำบลโนนเมือง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า หนังสือเสริมประสบการณ์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.36/89.44 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80 เช่นเดียวกันกับงานการศึกษาของจันทร์จุรี พรมจันทร์ (2560 : 113) ได้รายงานการใช้หนังสือนิทานอ่านเพิ่มเติม ชุด เรียนรู้คู่คุณธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันทราย (ราษฎร์สามัคคี) อำเภอแม่สาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 พบว่า หนังสือนิทานอ่านเพิ่มเติม ชุด นี้มีค่าประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.60/82.62 เช่นเดียวกัน
    2.    จากการศึกษาผลของพัฒนาการด้านการฟัง และการพูดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม จากคะแนนเต็ม20 คะแนน ได้คะแนนหลังการจัดกิจกรรมเฉลี่ยได้เท่ากับ 18.05 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.25 คะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยได้เท่ากับ 10.55 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 52.75 มีคะแนนความก้าวหน้าได้เท่ากับ 7.50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 37.50 เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ในข้อที่ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหนังสือเสริมประสบการณ์ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสามารถนำไปจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็กเล็ก (อายุ 3-5 ปี) เป็นอย่างดี เนื่องจากรูปแบบของนิทานเป็นนิทานประกอบภาพที่น่าสนใจ สีสวยสด เนื้อหาเป็นคำคล้องจอง หรือกลอนสี่ ที่มีความไพเราะ เกี่ยวกับสัตว์พูดได้ คนใกล้ตัว เป็นต้น เด็กชอบและมีความสุขกับการฟังนิทานและท่องคำคล้องจอง (กัลยา สีบำรุงสาสน์. 2553:1-2) จนนักเรียนมีผลการพัฒนาทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของวัลลภ กันทรัพย์ (2551 : 59-60) อภิวรรณ วีระสมิทธิ์ (2557 : 16) และสนิท สัตโยภาส (2553 : 18) ที่ได้กล่าวเช่นเดียวกันว่าหนังสือเสริมประสบการณ์มีประโยชน์และมีคุณค่า ในการพัฒนาสติปัญญาให้เจริญงอกงาม ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ปลูกฝังคุณธรรม เป็นแหล่งความรู้ให้นักเรียนอ่านหนังสือเป็นและรักการอ่าน ส่วนแนวคิดของจินตนา ใบกาซูยี (2552 : 143-144) ได้กล่าวสอดคล้องกันว่าหนังสืออ่านเพิ่มเติมมีประโยชน์มาก ช่วยส่งเสริมคุณธรรม พัฒนาการเรียนรู้ ให้ความบันเทิง ส่งเสริมให้นักเรียนแสวงหาความรู้ รักการอ่านและส่งผลให้นักเรียนที่ได้อ่านและศึกษาแล้วมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและสอดคล้องกับผลการศึกษาของปานใจ จารุวณิช (2554 : 62) ได้ศึกษาพฤติกรรมทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมคำคล้องจอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 กลุ่มตัวอย่าง นั้นได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนสาธิต อนุบาลลอออุทิศ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน พบว่า มีผลการพัฒนาทักษะการพูดหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม และสอดคล้องกับพิมพร ชาวน่าน (2556 : 73-80) ได้ศึกษาการสร้างนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมความสามัคคี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดห้วยทราย อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สอดคล้องกับกัลยา สุริยะโชติ (2561 : 114) ได้สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด นิทานแห่งความดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนบ้านจำบอน อำเภอเมืองเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 11.44 คะแนน หลังเรียนเท่ากับ 18.56 คะแนนค่าความก้าวหน้าเท่ากับร้อยละ 35.56 สอดคล้องกับพิมผกา ภีระบัน (2554 : 95) ได้ศึกษาวิจัย เรื่องการส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟัง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโป่ง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวนนักเรียน 20 คน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมในระดับคุณภาพดีมาก ดังนั้น หนังสือเสริมประสบการณ์จึงเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผลการพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟัง และ การพูด สูงขึ้นในระดับดีถึงดีมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^