LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STCHAI Model เพื่อพัฒนาผลสัม

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STCHAI Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์
    ทางการเรียน ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง แคลคูลัสเบื้องต้น
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย     นายสิทธิชัย ยุบลวัฒน์
โรงเรียน โรงเรียนอนุxxxลนารี อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46130
        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STCHAI Model
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง แคลคูลัสเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบันและเงื่อนไขการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการแก้ปัญหา โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา จำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STCHAI Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง แคลคูลัสเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STCHAI Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง แคลคูลัสเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 38 คน โรงเรียนอนุxxxลนารี อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความสามารถทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหา และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติt–test (Dependent)
    ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STCHAI Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง แคลคูลัสเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 6 องค์ประกอบ คือ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน ผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวคิดของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ SSCS CIPPA Collaborative learning group และการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางTPACK ICARE สู่ขั้นตอนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจและค้นหา (S : Stimulate / Search) ขั้นที่ 2 สอบ/ทีม/เทคโนโลยี (T : Test /Team/Technological) ขั้นที่ 3 การสร้างองค์ความรู้/ร่วมมือในการเรียนรู้ (C : constructive learning / Cooperative Learning) ขั้นที่ 4 ขั้นลงมือปฏิบัติสร้างองค์ความรู้ผ่านกระบวนการทำงานกลุ่ม ผสานเป็นหนึ่งเดียว ศีรษะ สมอง และมือ เพิ่มพูนทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจแก้ปัญหาฝึกการทำงาน (H : HEAD HAND HEART and HOW) ขั้นที่ 5 การวัดและปะเมินผล (A : Assessment (A) และขั้นที่ 6 ขั้นการนำไปประยุกต์ใช้ (I : Implicating) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ STCHAI Model








ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^