LASTEST NEWS

04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567ด่วน!!! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 1,530 อัตรา รับสมัคร 12-20 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ร่วมกับ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้
     แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103)
     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย     นางนิภาพร เดชศิริ
ปีที่วิจัย 2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหา เป็นฐาน (PBL) รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ที่มีกลุ่มทดลอง กลุ่มเดียวและมีการทดสอบก่อนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที t - test (Dependent Samples)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
    2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย (ส23103) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.63

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^