การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเท
ชื่อผู้วิจัย : นันทพร บุญวาส
หน่วยงาน : โรงเรียนวัดพรหมวิหาร
ปีที่ทำการวิจัย : ปี 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 2)ประเมินประสิทธิผลของ ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดพรหมวิหาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คู่มือการใช้รูปแบบ หน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โครงงานคณิตศาสตร์ แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ การที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างนวัตกรรมขึ้นเองอย่างมีระบบ โดยอาศัยการแสวงหาความรู้ ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ และผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ผ่านสื่อและเทคโนโลยี ได้ตลอดเวลาทุกสถานที่โดยมีครูทำหน้าที่ แนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) ขั้นกระตุ้นผู้เรียน (Motivate : M) (2) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุ (Analyze : A) (3) ขั้นไตร่ตรอง (Thoughtful : T) (4) ขั้นสรุปเหตุการณ์สำคัญ (Highlight : H) และ(5) ขั้นขยายความรู้ (Stretch : S) 4) การวัดและ ประเมินผล 2 ด้าน คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 5) เงื่อนไข สำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ผู้เรียนต้องมีความสามารถและความพร้อมในการใช้และเข้าถึงเทคโนโลยี มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน โดยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.73/80.81
2.ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โครงงานคณิตศาสตร์ ของนักเรียน หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับสูง และ2.3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมพบว่าขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ควบคู่กับการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ในด้านต่างๆของตนเอง เนื่องจากกิจกรรมในห้องเรียน เป็นการทำกิจกรรมกลุ่ม มีสื่อให้ศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลาและยังสามารถแก้ปัญหาการขาดเรียนได้