การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้รูปแบบ THAIPAT MODEL
วิจัย เรื่อง การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้รูปแบบ THAIPAT MODEL ของโรงเรียนบ้านไทยพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้รูปแบบ THAIPAT MODEL ของโรงเรียนบ้านไทยพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ ๒) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็นผลมาจากการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้รูปแบบ THAIPAT MODEL ของโรงเรียนบ้านไทยพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้รูปแบบ THAIPAT MODEL ของโรงเรียนบ้านไทยพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ กลุ่มประชากร คือ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
๑) สภาพแวดล้อมภายในภายนอกห้องเรียนสะอาดร่มรื่นสวยงาม มีแหล่งเรียนรู้สามารถใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ รู้จักเรียนเป็นรายบุคคล การประชาสัมพันธ์โรงเรียนหลากหลายช่องทางสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองและชุมชนในการติดตามข่าวสารของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๙.๖๓ มีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาให้เพียงพอ และคุ้มค่า จนสามารถจัดซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่แทนเครื่องเก่าที่เสียและมีห้องน้ำเพิ่มขึ้น มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศถูกต้อง เป็นปัจจุบันและเป็นระบบ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความตระหนัก ทุ่มเท จริงจัง มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานและพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ส่งเสริมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ชุมชนมีความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมให้มีความตระหนักถึงความจำเป็นในการมีส่วนร่วมและเครือข่ายของชุมชน ผู้ปกครองและศิษย์เก่า
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปีการศึกษา ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ โรงเรียนบ้านไทยพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ๖.๘๐ และผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ปีการศึกษา ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ โรงเรียนบ้านไทยพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ๒๐.๙๗
๓) ความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้รูปแบบ THAIPAT MODEL ของโรงเรียนบ้านไทยพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก