อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/index.php?module=f
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ
ผู้ศึกษา นางสาวเยาว์เฮ มาหะดุง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบ การเรียน ชุด วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 20 คน ของโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจาก การสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เอกสารประกอบ การเรียน ชุด วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 8 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ โดยจัดทำเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตร KR-20 ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนโดยหาค่า E1 และ E2 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สูตร Dependent t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1) ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.04/82.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2) ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียนโดยใช้การทดสอบด้วยสถิติ t-test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด วัสดุและสมบัติของวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.72, S.D. = 0.41)