แบบเรียนเสริมคอมพิวเตอร์พื้นฐานโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกแสดงความสัมพ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์
ผู้รายงาน สุภาภัทร ทรรทุรานนท์
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบเรียนเสริมคอมพิวเตอร์พื้นฐานโดยเทคนิคผังกราฟิกแสดงความสัมพันธ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบเรียนเสริมคอมพิวเตอร์พื้นฐานโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกแสดงความสัมพันธ์ ทั้งสิ้น 4 หน่วย แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังการเรียนรู้ คำถามท้ายบท และกิจกรรมเพิ่มเติมระหว่างเรียน โดยศึกษากับประชากรนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 5 ทานสัมฤทธิ์ สังกัดสำนัการศึกษา เทศบาลนครนนทบุรี จำนวน 40 คน
จากการศึกษาการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบเรียนเสริมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน โดยใช้เทคนิค ผังกราฟิกแสดงความสัมพันธ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 พบว่า แบบเรียนเสริมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกแสดงความสัมพันธ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาคอมพิวเตอร์ ทั้ง 4 หน่วย มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ทุกหน่วย ดังนี้
หน่วยที่ 1 ความหมายและประเภทของคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายและประเภทของคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ เท่ากับร้อยละ 80.80
หน่วยที่ 2 ระบบและการทำงานของคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบและการทำงานของคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ เท่ากับร้อยละ 83.10
หน่วยที่ 3 บทบาทของคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงบทบาท ประโยชน์และโทษของคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ เท่ากับร้อยละ 84.10
หน่วยที่ 4 การใช้งานพื้นฐานคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงการใช้งานของคอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ เท่ากับร้อยละ 84.00
ผลการศึกษาพบว่า แบบเรียนเสริมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกแสดงความสัมพันธ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาคอมพิวเตอร์ มีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด