รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านขุน
อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ศึกษา นางสาวพรรณณภัทร ตาลป่า
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านขุน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและ
การเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ได้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านขุน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าอัตราการพัฒนาของผล การเรียน ค่าเฉลี่ย ( )
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1. ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) 85.90/82.10 และผลรวมคะแนนระหว่างเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ชุด ค่าเฉลี่ย 8.59 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่าเฉลี่ย 25.63 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) 85.90/85.43
1.2 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (25.63/13.68)
อัตราการพัฒนาและร้อยละอัตราการพัฒนา (11.95/39.82)
1.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมในระดับมากที่สุด( = 4.66)