รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความจากนิทานพื้นบ้าน
จังหวัดพัทลุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางปิยนุช วุ่นแก้ว
ปีการศึกษา 1/2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชุด การอ่านจับใจความจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัดเขาวงก์ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง จำนวน 17 คนได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากนักเรียนที่ผู้ศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลครั้งนี้มี 3 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า 1) แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.51/83.73 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการศึกษาพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงว่าเมื่อนักเรียนได้เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ ชุด การอ่าน จับใจความจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แล้วทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญได้ และสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 3) ด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจมีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.19 ซึ่งอยู่ในระดับมาก