การพัฒนาแบบฝึกทักษะการพูดโดยใช้คำคล้องจองประกอบภาพ ชั้นเตรียมอน
ชื่อผู้วิจัย : นงลักษณ์ พวงบุญ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสนม จังหวัดสุรินทร์
ปีการศึกษา 2562.
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาแบบฝึกทักษะการพูดโดยใช้คำคล้องจองประกอบภาพ ชั้นเตรียมอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสนม จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการพูดโดยใช้คำคล้องจองประกอบภาพ ชั้นเตรียมอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสนม จังหวัดสุรินทร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการพูดของเด็กก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยแบบฝึกทักษะการพูดโดยใช้คำคล้องจองประกอบภาพ 3) ศึกษาทักษะการพูดของเด็กจากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการพูดโดยใช้คำคล้องจองประกอบภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ เด็กชั้นเตรียมอนุบาล 2/1 อายุ 3-4 ปี จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการพูดโดยใช้คำคล้องจองประกอบภาพ ชั้นเตรียมอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสนม จังหวัดสุรินทร์ 2) แผนการจัดประสบการณ์การอ่านคำคล้องจองประกอบภาพ ชั้นเตรียมอนุบาล 2 3) แบบประเมินความสามารถด้านการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (t – test) และการหาประสิทธิภาพโดยการใช้สูตร /
ผลการวิจัย พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการพูดโดยใช้คำคล้องจองประกอบภาพ ชั้นเตรียมอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสนม จังหวัดสุรินทร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.66/83.79 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. เด็กชั้นเตรียมอนุบาล 2 มีทักษะความสามารถด้านการพูดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เด็กชั้นเตรียมอนุบาล 2 มีคะแนนทักษะความสามารถด้านการพูดคิดเป็นร้อยละ 83.79 สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำหนด
4. เด็กชั้นเตรียมอนุบาล 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการใช้คำคล้องจองประกอบภาพ อยู่ในระดับมาก