LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ DEICP Model

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความ
สามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้วิจัย นางมยุรี เสนไสย
หน่วยงาน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4) เพื่อนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปขยายผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 45 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลรูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
    1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีชื่อว่า “DEICP Model”หรือ รูปแบบดีเซ็ป มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลในการพิจารณาไตร่ตรองเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ โดยการศึกษาข้อมูลหลักฐาน แยกแยะข้อมูล ว่าข้อมูลใดคือข้อเท็จจริง ข้อมูลใดคือความคิดเห็น ตลอดจนพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบในการตัดสินใจ แล้วตั้งสมมติฐานเพื่อหาสาเหตุของปัญหา และสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นๆ เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่จะค้นคว้าหาคำตอบและแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้ที่สร้างความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจึงได้พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณไปพร้อมๆ กับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระความรู้ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควบคู่ไปกับการส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา (Defining Problems: D) ขั้นที่ 2 ค้นหาความจริง (Exploring Facts: E) ขั้นที่ 3 สร้างองค์ความรู้ (Implementation: I) ขั้นที่ 4 เรียนรู้ร่วมกัน (Cooperative Learning: C) ขั้นที่ 5 สร้างสรรค์สู่สังคม (Presentation: P) 4) การวัดและประเมินผล มี 2 ด้านคือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญและส่งเสริมการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี แนวคิด ผู้เรียนต้องเข้าใจบทบาทของตนเองในการแสวงหาความรู้และต้องลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณร่วมกัน เรียนรู้จากการปฏิบัติและสร้างความรู้ด้วยตนเอง พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 92.75/85.85
    2. การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ในภาพรวม อยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด
4. ผลการขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^