ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านนาต้นจ
การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
ชื่อผู้รายงาน นางสาวหฤทัย บุญประดับ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 มีวัตถุประสงค์การประเมิน 1) เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 2) เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 จำแนกรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านบริบท (Context) (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (3) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) และ (4) ด้านผลผลิต (Product)
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในภาพรวมตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หัวหน้างานวิชาการ และครู ในภาพรวมของโครงการทั้ง 4 ด้าน พบว่า มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71) และผ่านการประเมินทุกรายการ
2. ผลการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 จำแนกตามด้านที่ประเมินมีดังนี้
2.1 ด้านบริบท (Context) พบว่า ในภาพรวมแล้วการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ด้านบริบทมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77) และผ่านการประเมินทุกรายการ
2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ในภาพรวมแล้วการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้ามีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63) และผ่านการประเมินทุกรายการ
2.3 ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) พบว่า ในภาพรวมแล้วการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72) และผ่านการประเมินทุกรายการ
2.4 ด้านผลผลิต (Product) ซึ่งมีการประเมิน 3 ลักษณะคือ 1) พิจารณาจากระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อผลผลิตของโครงการ (ด้านนักเรียน และด้านการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ 3) ผลการประเมินคุณภาพภายในตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษา 2561 ในมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.4.1 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อผลผลิตของโครงการ พบว่า ในภาพรวมแล้วมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54)
2.4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
1) ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย พบว่า ด้านสติปัญญา นักเรียนระดับปฐมวัยของโรงเรียนสื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ สามารถสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบ อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัยมีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจเรื่องง่าย ๆ ได้ จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย รวมทั้งนักเรียนปฐมวัยของโรงเรียน ร้อยละ 99 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งสูงว่าเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 90)
2) ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
2.1) การประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ผลการอ่านออกเขียนได้อยู่ในระดับ ดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 13.46 และระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 86.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ (นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีผลการประเมินการอ่านออกเขียนได้อยู่ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 85)
2.2) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 พบว่า นักเรียนร้อยละ 100 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีเยี่ยม ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 95)
2.3) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักในภาพรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 – 6 โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น ระหว่างปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.11
2.4) คะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละในภาพรวมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ในภาพรวมของผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างปีการศึกษา 2560 และ 2561 พบว่า เพิ่มขึ้น 9.15
2.5) คะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับเขตพื้นที่การศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2560 และ 2561 พบว่า เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.4.3 ผลการประเมินคุณภาพภายในตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษา 2561 ในมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด