ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษ
ชื่อผู้รายงาน นางสาวหฤทัย บุญประดับ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV เป็นฐานแบบครบวงจร ด้วยนวัตกรรม STAIR MODEL โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ในการนำเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTVมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV เป็นฐานแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรม STAIR MODEL โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 3) เพื่อทดลองและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV เป็นฐานแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรม STAIR MODEL โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV เป็นฐานแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรม STAIR MODEL โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพและปัญหาในการนำเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น พบว่า ในภาพรวมแล้วคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูมีความคิดเห็นว่า สภาพการดำเนินงานด้านการบริหาร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการใช้งานอุปกรณ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาในการนำเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านนาต้นจั่นนั้นพบว่า ด้านที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ด้านการใช้งานอุปกรณ์ ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนมีปัญหาในระดับปานกลาง ส่วนด้านการบริหารมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย
2. ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา สามารถสรุปความหมายได้ดังนี้
2.1 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น โดย ใช้เทคนิค STEP พบว่า ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น (+3.48) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสังคมและวัฒนธรรม (+0.60) สำหรับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือ ด้านเศรษฐกิจ (-0.80) และเมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วปัจจัยภายนอกมีโอกาสมากกว่าอุปสรรค ซึ่งเอื้อต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น (+0.48)
2.2 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น โดยใช้เทคนิค 2S,4M พบว่า โดยสรุปโรงเรียนบ้านนาต้นจั่นมีจุดอ่อน (3.48) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผลผลิตและบริการ (-0.48) และมีจุดแข็ง (-0.80) เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วโรงเรียนบ้านนาต้นจั่นมีจุดอ่อนในการจัดการศึกษาของสถานศึกษามากกว่าจุดแข็ง (-0.32)
2.3 สถานศึกษามีปัจจัยที่เป็นโอกาสแต่มีจุดอ่อนแสดงให้เห็นว่าโรงเรียน บ้านนาต้นจั่น มีสภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อต่อความสำเร็จ ทั้งด้านชุมชน/หน่วยงานอื่นช่วยเหลือและคอยส่งเสริมสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ ใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง แต่โครงสร้างภายในมีจุดอ่อนทั้งด้านบุคลากร จำนวนนักเรียน งบประมาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ตกต่ำ ดังนั้นโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น จะต้องเร่งรัดการพัฒนาในส่วนที่เป็นอุปสรรคซึ่งต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสและกำจัด/ลดจุดอ่อนที่มีอยู่ให้หมดไปเพื่อพัฒนาเป็น Stars ในลำดับต่อไป
3. รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV เป็นฐานแบบครบวงจร โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 คือ S = Start (การวิเคราะห์องค์กรและการมีส่วนร่วม) ประกอบด้วย S1: SWOT การสำรวจ/วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และอุปสรรค และ S2: Share การวางแผนแบบ มีส่วนร่วม
องค์ประกอบที่ 2 คือ T = Team (การทำงานเป็นทีม) ประกอบด้วย T1: Recognition Team ทีมดำเนินงานด้านการสร้างองค์ความรู้/ภาคทฤษฎี และ T2: Create a practician Team ทีมดำเนินงานด้านการสร้างสรรค์/ภาคปฏิบัติ
องค์ประกอบที่ 3 คือ A = Activity (การจัดกิจกรรม) ประกอบด้วย A1: Learning Activity กิจกรรมการเรียนรู้แบบครบวงจร และ A2: Network Activity กิจกรรมส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 4 คือ I = Interaction (การมีปฏิสัมพันธ์) ประกอบด้วย I1: Interaction with Instructional media and activity ผลของการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการเรียนรู้ และ I2: Interaction with Learning Network ผลของการมีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 5 คือ R = Reflection (การสะท้อนผล) ประกอบด้วย R1: Reflect the result สะท้อน/ประเมินผลการเรียนรู้ และ R2: Reflect of Desired characteristics สะท้อน/ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV เป็นฐานแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรม STAIR MODEL โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV เป็นฐานแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรม STAIR MODEL ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV เป็นฐานแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรม STAIR MODEL พบว่า ในภาพรวมแล้วคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น ข้าราชการครู ครูอัตราจ้าง ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV เป็นฐานแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรม STAIR MODEL ของโรงเรียนนาต้นจั่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
6. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักในภาพรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียน
บ้านนาต้นจั่น ระหว่างปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.11
7. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 100
8. คะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละในภาพรวมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยร้อยละในภาพรวมของผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่าง ปีการศึกษา 2560 และ 2561 พบว่า เพิ่มขึ้น 9.15
9. คะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ปีการศึกษา 2561 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับเขตพื้นที่การศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่าง ปีการศึกษา 2560 และ 2561 พบว่า เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้