รายงานผลการพัฒนาการใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์แก้โจทย์ปั
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า : นายอารีย์ อามิง โรงเรียนบ้านละหาร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ปีที่ศึกษาค้นคว้า : 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ เรื่องการวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
โดยมีวิธีดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านละหาร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวนนักเรียน 22 คน จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 6 ชุด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.04 / 81.11 2) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีลักษณะเป็นปรนัย มี 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.30 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 - 0.87 ค่าดัชนีความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะ เรื่องการวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.04 / 81.11 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80
2) ผลการใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก