การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
คำสำคัญ รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้/ตามรูปแบบโครงงาน/ทักษะในศตวรรษที่ 21
ชื่อผู้วิจัย นางสาวอัญชลี แก้ววิเศษ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะ
ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว มีเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เกี่ยวกับประสิทธิภาพของรูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และประสิทธิผลการใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ ทักษะในศตวรรษที่ 21 และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอน ที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ จากเอกสารงานวิจัยและความคิดเห็น ของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอน ที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมี 6 องค์ประกอบ ขั้นตอน ที่ 3 การทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและนักเรียนที่เลือกมาโดยการสุ่มแบบง่าย และขั้นตอน ที่ 4 หาประสิทธิผลของรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ การรับรองรูปแบบกระบวน การเรียนรู้ และจัดทำข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ฉบับ คือ 1) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 2) ประเด็นสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย วิธีการคิด วิธีการทำงาน เครื่องมือในการทำงาน และการดำรงชีวิตในโลก เป็นแบบมาตรประมาณค่ามีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.948, 0.955, 0.972 และ 0.968 ตามลำดับ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.868 และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล 5) ปัจจัยสนับสนุน 6) เงื่อนไขสำคัญ ในการนำรูปแบบไปใช้ โดยในกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้น ได้แก่ E ขั้นที่ 1 เร้าความสนใจ S ขั้นที่ 2 ศึกษาข้อมูล P ขั้นที่ 3 แผนงาน P ขั้นที่ 4 ลงมือปฏิบัติ L ขั้นที่ 5 ผลการเรียนรู้ และ P ขั้นที่ 6 นำเสนอ (ESPPLP Model) ประสิทธิภาพของรูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลของรูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ของดีเมืองลุง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
2.1 ผู้เรียนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ ดังกล่าว มีทักษะ
ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1) ความสามารถในวิธีการคิดเกี่ยวกับการคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 2) ความสามารถในวิธีการทำงานเกี่ยวกับทักษะการสื่อสาร และการร่วมมือทำงานเป็นทีม 3) ความสามารถในการใช้เครื่องมือการทำงานเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสารสนเทศ การรู้เท่าทันสื่อ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) การประพฤติและปฏิบัติในการดำรงชีวิตเกี่ยวกับ เป็นพลเมืองและพลโลก ความรู้ ทักษะ และเจตคติอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2.2 ผลการประเมินการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง พบว่า ผู้เรียนให้ความร่วมมือ
ในการทำกิจกรรมต่างๆ มีความกระตือรือร้นในการหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในและนอกห้องเรียน กล้าแสดง ความคิดเห็นในมุมมองที่แตกต่างกันด้วยความมั่นใจ แสดงแนวคิดที่แปลกใหม่หลากหลายในการแก้ปัญหา ผู้เรียนมีการนำเสนอเหตุผลในการเรียนรู้และท้าทาย นำเสนอผลงานจากการระดมความคิด การวิพากษ์ และให้ข้อเสนอแนะ นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความประทับใจที่ได้เรียนรู้และฝึกทักษะรวมทั้งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการเรียนรู้ของตนเอง