เผยแพร่ผลงานวิจัย นางวรินภร สีสัน
ชื่อผู้วิจัย นางวรินภร สีสัน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ความสำคัญและที่มา
เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนสอนของนักเรียนที่ผ่านมาในปี การศึกษา 2561 นักเรียนส่วนใหญ่จะขาดสมาธิในการเรียน ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่ประสบความสำเร็จ นักเรียนส่วนมากจะไม่สามารถรับรู้ ข้อมูล เนื้อหาที่คุณครูนำเสนอต่อนักเรียน และชอบหยอกล้อกันภายในห้องเรียน ขาดความตั้งใจในการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ ข้าพเจ้าจึงได้คิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยการพยามทำจิตใจให้นักเรียนสงบนิ่ง ไม่คิดฟุ้งซ่านในเรื่องอื่น สนใจในเรื่องที่กำลังกระทำ ด้วยการนำกิจกรรมการฝึกสมาธิในตอนเช้า ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มาใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฝีกให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีสมาธิในการเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่ได้จัดกิจกรรมการการฝึกสมาธิในตอนเช้า ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2561 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้จัดกิจกรรมการการฝึกสมาธิในตอนเช้า ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการ
ปีการศึกษา 2562
สมมุติฐาน
การฝึกสมาธิ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีสมาธิในการเรียน มีความตั้งใจในการเรียน สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
2.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านเหล็ก อำเภอปรางค์xxx่
จังหวัดศรีสะเกษ
ตัวแปรต้น
กิจกรรมการฝึกสมาธิ
ตัวแปรตาม
นักเรียนมี สมาธิในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2562 เพิ่มขึ้น
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ให้นักเรียนฝึกกิจกรรมการนั่งสมาธิ ในตอนเช้าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยการฝึกสมาธิเบื้องต้น และให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการฝึกสมาธิแบบง่ายๆ และให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตาม พร้อมทั้งนำเสนอภาพทางจอทีวี ในเรื่องการนั่งสมาธิที่ถูกต้อง โดยการสืบค้นข้อมูลจาก อินเตอร์เน็ต
2. ให้นักเรียนฝึกกิจกรรมการนั่งสมาธิ โดยครูเปิดเพลง ลมหายใจเข้า – ลมหายใจออก ของแม่ชีศันสนีย์ ของเสถียรธรรมสถาน ทุกๆเช้า เป็นเวลา 5- 10 นาที และสลับด้วยการฝึกสมาธิ ด้วยตนเอง
3. ทำกิจกรรมเช่นนี้เป็นเวลา 1 เดือน จึงเริ่มทดสอบจิตใจของนักเรียน ด้วยการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนว่ามีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด
4. ทำกิจกรรมเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนว่ามีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด ในทุกๆ เดือน
5. เมื่อสิ้นภาคเรียนที่1 ทำการประเมินผลพฤติกรรมของนักเรียนของนักเรียนด้วยการใช้แบบสังเกตพฤติกรรม และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
6. เมื่อเปิดภาคเรียนที่ 2 ฝึกกิจกรรมการนั่งสมาธิ ในข้อที่ 1- 5 ต่อไปอย่างสม่ำเสมอ และให้นักเรียนฝึกนำไปปฏิบัติที่บ้านด้วยการสวดมนต์ไหว้พระ และนั่งสมาธิก่อนนอนจนกลายเป็นกิจวัตรปรำจำวัน
7. สรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการทำกิจกรรมการฝึกสมาธิในตอนเช้าให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีจิตใจที่สงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หยอกล้อกันภายในห้องเรียน มีความตั้งใจในการเรียน มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในการทำภาระงานมีความตั้งใจในการทำงาน สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ ในวิชาหลักคือ วิชาด้านคำนวณ ด้านภาษา และด้านความสามารถ มีคะแนน เพิ่มขึ้น
สรุปผล
จากการนำกิจกรรมการการฝึกสมาธิในตอนเช้า ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มาฝึกกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำให้เกิดผลดีต่อนักเรียนดังนี้คือ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีสมาธิในการเรียน
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 3 ในปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ย เพิ่มขึ้น
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการฝึกการนั่งสมาธิอย่างต่อเนื่อง และจัดกิจกรรมเช่นนี้ในชั้นประถมศึกษาอื่น ๆ ด้วย