การสร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุรอบตัว
การสอนร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางรัญจวน รัตพลแสน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม) อำเภอเมืองระยอง
จังหวัดระยอง
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การสร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุรอบตัว โดยใช้รูปแบบการสอนร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตเทศบาลนครระยอง (วัดตรีรัตนาราม) ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุรอบตัว โดยใช้รูปแบบการสอนร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วัสดุรอบตัวชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ร่วมมือแบบ STAD ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test
ผลการวิจัย
1. เป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และหลักสูตรสถานศึกษา
มุ่งพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ความเจริญทางวิทยาการในโลกยุคปัจจุบัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559-2560 ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ และแนวคิดการสอนร่วมมือแบบ STAD สามารถนำไปใช้ประยุกต์ในศาสตร์หรือสาขาวิชาการแขนงอื่น ๆ สามารถนำมาประกอบกันเป็นกระบวนการเพื่อปลูกฝังค่านิยมการพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาแก่เยาวชน
2. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้พบว่า สามารถสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง
วัสดุรอบตัว โดยใช้รูปแบบการสอนร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้จำนวน 10 แผนการจัดการเรียนรู้ ผ่านการทดลองหาประสิทธิภาพจนได้ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์
3. จากการทดลองเพื่อยืนยันประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 70/70 มี
ประสิทธิภาพเท่ากับ 73.15/74.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01
4. การประเมินผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุรอบตัว โดยใช้รูปแบบ
การสอนร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนประเมินให้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.35 ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญ มีระดับความคิดเห็นในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.39 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็น ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.57