LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

ผลการเปรียบเทียบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์

usericon

ชื่อเรื่อง : ผลการเปรียบเทียบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และสมัยสุโขทัย และการเรียนการสอนโดยวิธีเรียนแบบปกติ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวสุจิตรา วงศ์กำแหง
ปีที่วิจัย : 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 ที่เรียนโดยการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัย กับนักเรียนกลุ่มควบคุม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 ที่เรียนด้วยวิธีเรียนแบบปกติโดยการใช้หนังสือเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 39 คน เป็นกลุ่มทดลองและชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 39 คน เป็นกลุ่มควบคุม ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเชิงเดียว (Simple Random Sampling) ได้มาโดยวิธีการจับสลากจากกลุ่มประชากร โดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 11 ห้องเรียน จำนวน 410 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัย จำนวน 12 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 2 เล่ม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิธีดำเนินการ คือผู้วิจัยได้ทดสอบก่อนเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีเรียนแบบปกติในกลุ่มควบคุมควบคู่ไปกับกลุ่มทดลองโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัย ทั้งหมด 12 เล่ม ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและทดสอบหลังเรียน สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 4/5 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จำนวน 12 เล่ม จากการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มทดลอง) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 พบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ในภาพรวมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.68/84.79
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของกลุ่มทดลองจากการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัย และกลุ่มควบคุมจากการเรียนด้วยวิธีเรียนแบบปกติโดยการใช้หนังสือเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนของกลุ่มควบคุม
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มทดลอง) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 จำนวน 39 คน ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและสมัยสุโขทัยจากการตอบแบบสอบถาม จำนวน 10 ข้อรายการ พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.99, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.07) เมื่อพิจารณาเป็นรายเล่ม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจว่าเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกเล่ม
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^