การประเมินโครงการรักช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อม
ผู้ประเมิน นายลำภึง ภุมรา
ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนช่องแมววิทยาคม อำเภอลำทะมเนชัย จังหวัดนครราชสีมา
ปี พ.ศ. 2557
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะประเมินโครงการรักษ์ช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนช่องแมววิทยาคม ภายใต้กรอบการประเมินเชิงระบบ CIPPIEST Model กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนช่องแมววิทยาคม และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) ผู้บริหาร และคณะครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 18 คน จากการเลือกแบบเจาะจง 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนช่องแมววิทยาคม จำนวน 13 คน
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนช่องแมววิทยาคม ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 340 คน (Yamane, 1973: 125) จาการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2546) และ
4) ผู้ปกครองนักเรยนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนช่องแมววิทยาคม ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 340 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประเมินโครงการตามรูปแบบ CIPPIEST Model โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารโครงการ ข้อมูลการวางแผนและดำเนินการโครงการการเยี่ยมชั้นเรียน นิเทศติดตามและสรุปผล และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนช่องแมววิทยาคม ที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2557
โดยการสอบถามความคิดเห็นกลุ่มผู้ใช้ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model (Stuffle-bea,, 1983 ; มาเรียม นิลพันธุ์ 2553 : 31-32) ประเมินเชิงระบบและวิเคราะห์ประเมินพฤติกรรมนักเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังการดำเนินกิจกรรม โดยใช้สถิติเชิงพรรณาในการอธิบายข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า ภาพรวมของโครงการรักช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
ช่องแมววิทยาคม มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดย
1. การประเมินบริบทของโครงการรักช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนช่องแมว
วิทยาคม มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการรักช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนช่องแมววิทยาคม มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินกระบวนการของโครงการรักช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนช่องแมววิทยาคม มีประสิทธิภาพของกระบวนการอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินผลผลิตของโครงการรักช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรยนช่องแมววิทยาคม มีผลลัพธ์อยู่ในระดับมาก
5. การประเมินผลกระทบของโครงการรักช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรยนช่องแมววิทยาคม มีผลกระทบเชิงบวกอยู่ในระดับมาก
6. การประเมินความยั่งยืนของโครงการรักช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรยนช่องแมววิทยาคม มีความยั่งยืนในการปฏิบัติของโครงการอยู่ในระดับมาก
7. การประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการรักช่องแมวรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรยนช่องแมววิทยาคม มีการถ่ายโยงความรู้ได้อยู่ในระดับมาก