LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การพัฒนารูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน     ปราณี ปถม
ปีที่ศึกษา     2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อร่างรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) รูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบประเมินความเหมาะสม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินทักษะการอ่านแบบ SQ4R และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent ผลการวิจัยสรุปว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพบว่า การสอนโดยใช้เทคนิค SQ4R เป็นกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นสำรวจ (survey) ขั้นที่ 2 ขั้นตั้งคำถาม (question) ขั้นที่ 3 การอ่าน (read) ขั้นที่ 4 ทบทวนอ่านซ้ำและจดบันทึก (record) ขั้นที่ 5 สรุปใจความสำคัญ (recite) และ ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ วิจารณ์แสดงความคิดเห็น (reflect) เป็นเทคนิควิธีการสอนอ่านที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวได้รวดเร็ว มีความสามารถด้านการอ่านมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการอ่านดีกว่าการอ่านโดยไม่ได้ตั้งคำถามไว้ล่วงหน้าทำให้การอ่านมีจุดหมายที่แน่นอนว่า ผู้เรียนได้อะไรหลังการอ่าน การใช้คำถามจะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวคิดจากคำถามและพยายามหาคำตอบเมื่อผู้สอนถาม ดังนั้นการใช้คำถามจึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้เรียนอ่านอยู่ในขอบเขตที่ตั้งไว้ แล้วจะทำให้เข้าใจดีขึ้น
2. การร่างรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ใช้รูปแบบ “PTPES Model” ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม (Preparation : P) ขั้นที่ 2 ขั้นสอน (Teaching : T) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกทักษะ (Practicing : P) ขั้นที่ 4 ขั้นวัดและประเมินผล (Evaluation : E) และ ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Summarizing : S)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.26/82.84
4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) การประเมินทักษะการอ่านแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.28
3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยแบบ SQ4R โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อพัฒนาทักษะการจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^