การพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนภาพความคิด
ผู้รายงาน ปราณี ปถม
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนภาพความคิด บูรณาการค่านิยม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อร่างรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนผังความคิด บูรณาการค่านิยม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนผังความคิด บูรณาการค่านิยม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนผังความคิดบูรณาการค่านิยม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) รูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนภาพความคิด บูรณาการค่านิยม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบประเมินความเหมาะสม 4) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินทักษะทางศิลปะ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent ผลการวิจัยสรุปว่า
1. การศึกษาความคิดเห็น แนวทางการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การอ่านและการเขียน สรุปว่า ในการจัดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรเร่งพัฒนาความรู้นักเรียนในสาระที่ 1 การอ่าน และสาระที่ 2 การเขียน จากการศึกษาพบว่า ทักษะการอ่านและการเขียน คือพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ด้านอื่นๆ เป็นเครื่องมือที่จะทำให้นักเรียนได้พัฒนาตนเอง และเป็นการแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออก ปัญหาการอ่าน ออกเสียงผิด ปัญหาการอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องไม่ได้ ควรส่งเสริมให้นักเรียนได้สรุปข้อมูลในการเรียนแต่ละครับด้วยการเขียนแผนภาพความคิดเพื่อเป็นการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
2. การร่างรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนภาพความคิด บูรณาการค่านิยม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ใช้รูปแบบ “PLCC Model” ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparing : P) 2) ขั้นเรียนรู้สิ่งใหม่ (Learning: L) 3) แผนภาพความคิด และอธิบายความรู้ (Conceptual Construction and Explanation : C) และ 4) ขั้นสรุปและประเมินผล (Conclusion and Assessment : C)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนภาพความคิด บูรณาการค่านิยม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.73/84.14
4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนภาพความคิด บูรณาการค่านิยม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) การประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 อยู่ในระดับดีเยี่ยม
3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยการเขียนแผนภาพความคิด บูรณาการค่านิยม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก