การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร
มโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย : นางสุภาวดี นพพล
สถานศึกษา : โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา : 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2) เพื่อพัฒนาและนำร่องการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ การเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนนมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบมโนทัศน์ ทางชีววิทยาก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน
ตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางชีววิทยา และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1) ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า การเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนสามารถสร้างความคิดรวบยอดใหม่ได้นั้นต้องอาศัยความรู้เดิมเป็นฐาน การจัดบรรยากาศ บรรยากาศ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะทำให้นักเรียนสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง เกิดปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและบุคคลอื่น เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ความยากและความซับซ้อนของเนื้อหาวิชาชีววิทยา ทำให้นักเรียนจะต้องใช้ทักษะ ในการเรียน ทั้งด้านการทำความเข้าใจกับเนื้อหา การสรุปเนื้อหาหรือมโนทัศน์ การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบใหม่ๆ ที่แตกต่างไป จากเดิมส่งผลให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น และครูผู้สอนต้องปรับบทบาทจากผู้ถ่ายทอดและควบคุมการเรียนรู้ไปเป็นการให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวก สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้คำปรึกษา แนะนำ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา โดยนักเรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง
2) ผลการพัฒนาและนำร่องการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ เงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ และการวัดผลประเมินผล ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Verifying Knowledge) 2) ขั้นเติมความรู้ใหม่ (Instructing Fundamental Knowledge and SkillI) 3) ขั้นใส่มโนทัศน์ (Constructing Concepts ) 4) ขั้นแบ่งปันความรู้รอบ (Sharing Knowledge ) และ 5) ขั้นตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ (Assessing Knowledge and Understanding )
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มโนทัศน์ทางชีววิทยาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนเห็นด้วยกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนในระดับมาก