การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์
คอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา
เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางธัญพัชจ์ บุญเข็ม
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา
รูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อสร้าง
และพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อ
พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และมีดัชนีประสิทธิผล 0.50 ขึ้นไป (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยศึกษา
ผลดังนี้ (3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
(3.2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา ระหว่างก่อนเรียนและ
หลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
(3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์
โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ปัญหา เป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์1 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.25-0.76 และค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.20-0.64 และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.86 (3) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์และ
การแก้โจทย์ปัญหา ซึ่งเป็นโจทย์ปัญหา แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความ
พึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานการวิจัยโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการ แก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู เนื่องจากครูไม่นำเทคนิควิธีสอนที่แปลกใหม่มาใช้
ให้เหมาะสมกับผู้เรียน วิธีสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ ครูไม่พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ผู้เรียนขาดแรงจูงใจในการเรียนคณิตศาสตร์จึงทำให้ผู้เรียนขาดทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำและไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่สถานศึกษากำหนด
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 78.64/77.14 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 และดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6148 หรือคิดเป็นร้อยละ 61.48
3. การทดลองใชรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการศึกษาดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา ระหว่างก่อนและหลังเรียน
ด้วยรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์
โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และ
การแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยมีค่าเฉลี่ย 4.27
The Title The Development of Mathematical Learning Achievement By Using
Problem–Based Model with the Constructivist to Develop the Critical
Thinking and Problem Solving Skill at “Application1”Mathayomsuksa 1
The Author Mrs. Tunyapat Bunkem
School Suakokwittayasan, Wapiphatum Province
Mahasarakham Provincial Administrative Organization
Year 2017
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Abstract
This research was designed (1) to investigate the state, problem learning model of the Mathematic strand by using the problem-based model with the Constructivist to develop the critical thinking and problem solving skills at “Application 1” Mathayomsuksa 1 , (2) to construct and develop the learning model of the Mathematic strand by using the problem-based model with the Constructivist to develop the critical thinking and problem solving skills at “Application 1”
Mathayomsuksa 1 to reach the 75/75 criterion, (3) To study investigates to learning model of the Mathematic strand by using the problem-based model with the Constructivist to develop the critical thinking and problem solving skills at “Application 1” Mathayomsuksa 1. The objectives are : 3.1) to compare the learning achievement between before and after learning model of the Mathematic strand by using the problem-based model with the Constructivist to develop the critical thinking and problem solving skills at “Application 1” Mathayomsuksa 1, 3.2) to compare the critical thinking and problem solving skills between before and after learning model of the Mathematic strand by using the problem-based model with the Constructivist to develop the critical thinking and problem solving skills at “Application 1” Mathayomsuksa 1, and 3.3) to explore the students’ satisfaction with learning model of the Mathematic strand by using the problem-based model with the Constructivist to develop the critical thinking and problem solving skills at “Application 1” Mathayomsuksa 1. The cluster random sampling was applied for 35 Mathayomsuksa 1 students 1/1 of Suakokwittayasan School in the 1nd semester, B.E.2560 academic year. The research tools used for data collection consisted of (1) Mathematics lesson plans on Application 1. (2) 30 items with 4 multiple choices of the achievement test which its difficulty index is from 0.25-0.76, the discrimination is over 0.20-0.64 and the reliability is 0.86. (3) 5 items of the critical thinking and problem solving skills test. And (4) a questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples)
The research findings were summarized as follows :
1. The state, problem learning model of the Mathematic strand by using the problem-based model with the Constructivist to develop the critical thinking and problem solving skills at “Application 1” Mathayomsuksa 1 was clearly found that index of consistency, documentary analysis and the interview of 5 experts were consistent.
2. The efficiency of the Mathematic strand by using the problem-based model with the Constructivist to develop the critical thinking and problem solving skills at “Application 1” Mathayomsuksa 1 reached the 78.64/77.14 efficiency, thus it was fit to the 75/75 criterion. Besides, the effectiveness index was 0.6148 or 61.48 percent.
3. The experiment of Mathematics strand by using the problem-based model with the Constructivist to develop the critical thinking and problem solving skills at “Application 1” Mathayomsuksa 1. The objectives are :
3.1 The learning achievement between before and after learning, it was clearly found that after learning, the students who learnt the Mathematics strand had higher learning achievement than before learning with the statistical significance at .01 level.
3.2 For the critical thinking and problem solving skills, the result showed that after learning the students got higher skills than before learning with the statistical significance at .01 level.
3.3 The participants were satisfied with the learning model of mathematics strand on “Application 1” Mathayomsuksa 1 by using the problem-based model with the Constructivism to develop the critical thinking and problem solving skills which the overall aspect was evidently found at a high level. The mean was 4.27