การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทาง.Thinking. School
การอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวภคมน ขุนรักษ์
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ.1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาการเรียนการสอน
ด้านการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2).ออกแบบ
และพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทาง.Thinking..School เพื่อส่งเสริมการอ่านคิด
วิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3).ทดลองใช้รูปแบบ
การเรียนการสอนตามแนวทาง.Thinking. School เพื่อการส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้
หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4).ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน
ตามแนวทาง.Thinking. School เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จานวน.1.ห้องเรียน จานวน
36 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียน
เป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทาง.Thinking.
School เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
แบบสอบถามปัญหาการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทาง.Thinking. School ประกอบ
หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดคาขวัญเมืองลุงบ้านลุงเท่ง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หนังสือ
ส่งเสริมการอ่าน ชุดคาขวัญเมืองลุงบ้านลุงเท่ง จานวน 7 เล่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อ
วิธีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
(Mean)..ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน.(Standard.Deviation).ร้อยละ.(Percentage) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดย
ใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1.ปัญหาการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่.4.พบว่า ปัญหาด้านผู้สอน คือ ครูสอนเนื้อหาในหนังสือเรียนเป็นส่วนใหญ่ (X = 4.64) ปัญหา
ด้านผู้เรียน คือ ผู้เรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ ( X .=.3.87) ปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอน คือ
สื่อการสอนไม่ทันสมัย ( X = 4.39) ปัญหาด้านเนื้อหาหลักภาษาไทย คือ เนื้อหายากเกินไปสาหรับ
ผู้เรียน (X = 4.24)
2. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทางThinking.School.ประกอบด้วย หลักการ
วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระ
ความรู้ และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งนี้ กระบวนการเรียนการสอน มี 4 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นที่ 1
Do Now (D) เตรียมความพร้อมในเรื่องที่จะเรียนก่อนเรียน ขั้นที่ 2 Purpose (P).แจ้งจุดประสงค์
สร้างความกระจ่างทั้งต่อครูและนักเรียนในเรื่องที่จะเรียนรู้ ทิศทางการเลือกข้อมูล เนื้อหา
ขั้นที่ 3.Work.Mode.(W).ปฏิบัติกิจกรรมนาเข้าสู่เนื้อหาในหลักสูตรด้วยเครื่องมือสอนคิด
5 เครื่องมือ.คือ PMI Compare and Contrast Six Thinking Hat KWL และ Mind Map ขั้นที่ 4
Reflective.Thinking.(R).ก า ร คิด แ บ บ ส ะ ท้อ น ก ลับ เ พื่อ ต ร ว จ ส อ บ ค ว า ม รู้ค ว า ม เ ข้า ใ จ
ผลการตรวจสอบรูปแบบการเรียนการสอน.DPWR.Model.โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีความเหมาะสม
และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรูปแบบ
3. หลังทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทาง.Thinking.School.เพื่อส่งเสริม
การอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีพัฒนาการ
เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทยสูงขึ้นและโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี
4.. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทาง.Thinking.School.เพื่อ
ส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทยของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแตกต่างกันอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ .01
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยภาพ
รวมอยู่ในระดับมาก