การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ร่วมกั
โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based.Learning).ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4 ที่มี
ปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียน
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวภคมน ขุนรักษ์
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาด้านการอ่านและ การเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2).เพื่อออกแบบและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและ การเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ร่วมกับวิธีการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน.(Brain-based.Learning).ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4.ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน 3).เพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ร่วมกับวิธีการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน.(Brain-based.Learning).ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4.ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน.4).เพื่อประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ร่วมกับวิธีการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based.Learning).ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4.ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4.โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง ภาคเรียนที่.2.ปีการศึกษา.2560.จานวน.32.คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive.Sampling).คือนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่าน และความสามารถในการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของสถาบันภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จานวน.8.เรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based.Learning).เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่.4.จานวน 42.แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จานวน.40.ข้อ.และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จานวน.10.ข้อ.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล.ได้แก่.ค่าเฉลี่ย.(Mean).ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน.(Standard.Deviation) ร้อยละ.(Percentage) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4.โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน มีจานวน”32”คน.คิดเป็นร้อยละ.10”ของนักเรียนทั้งหมด ผลจากการทดสอบ
วัดความสามารถในการอ่านออกเสียง นักเรียนอยู่ในระดับดีมาก.จานวน.236.คน.คิดเป็นร้อยละ.73.75.ระดับดี จานวน.52.คน คิดเป็นร้อยละ.16.25.ระดับพอใช้ จานวน.13.คน คิดเป็นร้อยละ.4.06 .ระดับปรับปรุง.จานวน 19.คน คิดเป็นร้อยละ.5.94.ความสามารถในการอ่านรู้เรื่อง นักเรียนอยู่ในระดับดีมาก จานวน.220.คน คิดเป็นร้อยละ.68.75 .ระดับดี จานวน.68.คน คิดเป็นร้อยละ.21.25.ระดับพอใช้ จานวน.7.คน คิดเป็นร้อยละ.2.19.ระดับปรับปรุง.จานวน.25.คน คิดเป็นร้อยละ”7.81.และความสามารถในการเขียน นักเรียนอยู่ในระดับดีมาก จานวน.190.คน คิดเป็นร้อยละ.59.37.ระดับดีจานวน.98.คน คิดเป็นร้อยละ.30.63.ระดับพอใช้ จานวน.3.คน คิดเป็นร้อยละ.0.94.ระดับปรับปรุง.จานวน.29.คน คิดเป็นร้อยละ.9.06.และนักเรียนต้องการให้มีการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนที่มีกิจกรรมหลากหลาย รูปเล่มมีภาพประกอบ มีสีสันสวยงาม และมีการฝึกจากง่ายไปหายาก
2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ร่วมกับวิธีการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน.(Brain-based.Learning).ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4 .ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ.88.90/87.73
3..หลังทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ร่วมกับวิธีการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน.(Brain-based Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.ที่มีปัญหาด้าน การอ่านการเขียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01
4. ผลการประเมินการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4.ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน ร่วมกับวิธีการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน.(Brain-based.Learning)
4.1.ความสามารถในการอ่านออกเสียง นักเรียนอยู่ในระดับดีมาก.จานวน.29.คน คิดเป็นร้อยละ.90.63.ระดับดี จานวน.3.คน คิดเป็นร้อยละ.9.37.ความสามารถในการอ่านรู้เรื่องนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก จานวน.27.คน คิดเป็นร้อยละ.84.38 .ระดับดี จานวน.5.คน คิดเป็นร้อยละ”15.62 และความสามารถในการเขียน นักเรียนอยู่ในระดับดีมาก จานวน.19 คน.คิดเป็นร้อยละ.59.38 ระดับดี จานวน.13.คน คิดเป็นร้อยละ.40.62
4.2”ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.4 ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ร่วมกับวิธีการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน.(Brain-based.Learning) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01ง
4.2.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียนต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่.4.ร่วมกับวิธีการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based.Learning).โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก