การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้
การแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางวราภรณ์ แก้วเขียวงาม ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ปี 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทความพร้อมและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ 4) เพื่อการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เทคนิค
การแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 3 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 110 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัด
ศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู ด้านบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบ t แบบไม่อิสระ (Dependent)
การดำเนินการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอนคือขั้นตอน
ที่ 1 การวิจัย (Research ) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) เป็นการสร้างและพัฒนาหาคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดโครงร่างของรูปแบบ ซึ่งสาระสำคัญของรูปแบบ
ประกอบ ด้วย 1)หลักการและแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2)วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
3)กระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบ 4)ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ และ5)ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้ แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของโรงเรียน ความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคีมีบริบทความพร้อมในการใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีการสร้างความรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิค
ระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีการสร้างความรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมองตามความคิดเห็นของนักเรียนในการจัด
การเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมพบว่านักเรียนมีความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีการสร้างความรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ตามความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้เทคนิค
การแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้เทคนิค
การแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมองเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 82.25 /83.58 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80
3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ประสิทธิภาพรูปแบบเท่ากับ 82.54 /81.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่ง และหลังเรียนกับเกณฑ์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 4) การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังการดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3