การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบ
สรรค์ในวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวสุจิตรา โขมะพัฒน์
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน
ตามแนวคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของ โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล จํานวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ระยะเวลาทำการวิจัยตั้งแต่วันที่ 6 เดือน พฤศจิกายนยน พ.ศ. 2561 ถึง วันที่ 11 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 รวมเวลา 12 ชั่วโมง จำนวน 6 สัปดาห์ ใช้เวลาในการศึกษา 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประกอบด้วย 1)รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความ คิดสร้างสรรค์ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 20 ข้อ เป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก และ4)แบบสอบถามความพึงพอใจเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) มีชื่อว่า “CASAA model” องค์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์เรียนรู้ (Create learning experience : C) ขั้นที่ 2 สู่การวิเคราะห์ (To analysis : A) ขั้นที่ 3 สังเคราะห์และสร้างสรรค์ (Synthesized and Creative : S) ขั้นที่ 4 ร่วมกันนำไปใช้ (Apply together : A และ ขั้นที่ 5 ประเมินและสะท้อนผล (Assess and reflect : A) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.06/82.52 (E1/E2) ซึ่งสูงกว่า
เกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้านกิจกรรมการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52