เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ R&D(บทคัดย่อ)
ผู้รายงาน นางสาวมุกดา แสงสว่าง
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2)เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาซึ่งแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1การศึกษา วิเคราะห์ และ สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียนการสอนระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ดำเนินการจัดทำโดยยก (ร่าง) รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จัดทำเอกสารคู่มือประกอบการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 8 แผน รวม 30 ชั่วโมง และดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และเอกสารประกอบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน หลังจากนั้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษานำร่อง ทดลองใช้กับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล1(บ้านโพธิ์กลาง) อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ระหว่างการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แล้วนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอนให้ดียิ่งขึ้น แล้วนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนพิจารณาความเหมาะสม ระยะที่ 3 การนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้เป็นขั้นตอนการนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ปฏิบัติจริงในสถานศึกษาโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3ประเมินและรับรองรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนแล้วนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อจัดทำเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-testแบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอน สำหรับการออกแบบร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์ ได้มาจากการศึกษาและวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551รวมถึงรายงานผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาภายในของโรงเรียนในด้านคุณภาพผู้เรียนสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การสนทนากลุ่ม จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ครูสอนระดับชั้นปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร พบว่าการการจัดกิจประสบการณ์ที่ส่งเสริมความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มีความจำเป็นสำหรับเด็ก
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จัดสร้างตามแนวคิดของ Anderson ( 1999) Arend (1999) Gerlach and ELy (1971) Joyce and weil (2004) Kibler (1974) ประกอบด้วย 1) หลักการหรือทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน 4) การประเมินผลการเรียนการสอนและมีขั้นตอนการการสอนตามรูปแบบ มีชื่อว่า EPARA แบ่งเป็น 5 ขั้น 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Engagement) ขั้น 2)ขั้นวางแผน (Plan) ขั้น 3) ขั้นปฏิบัติกิจกรรม (Active learning) ขั้น 4) ขั้นทบทวน (Review) และขั้น 5) ขั้นประยุกต์ใช้และประเมินผล (Application and Assessment)ผลการสอบถามความเหมาะสมรูปแบบการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.71 , S.D. = 0.49)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า เด็กมีคะแนนความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01และเด็กมีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. เจตคติของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar =4.61 , S.D.=0.58) และผลการสอบถามเพื่อรับรองรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ EPARA โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar =4.71, S.D.=0.49)