การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย : นางวราภรณ์ แก้วเขียวงาม ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ปี 2561
_________________________________________________________________________
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการแบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 90 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนเรื่องการอ่านวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t – test
แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานความต้องการแบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความต้องการฝึกทักษะเรื่องการอ่านวิเคราะห์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่า ( = 4.88, S.D. = 0.36 ) 2)ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.29/81.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (= 4.60, S.D. = 0.58 ) ยอมรับสมมติฐานการวิจัย
ข้อที่ 3 ที่กำหนดไว้