การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย
1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนวัดมะนาวหวาน(ราษฎร์วิริยะบำรุง)ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน คือ จำนวน 112 คน ครูและบุคลากร จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
2. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ พบว่า มีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงานในระดับมากทุกรายการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ ความสอดคล้องของหลักการและเหตุผลของโครงการกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ และความสอดคล้องของหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ปัจจัยนำเข้าของโครงการมีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงานในระดับมากทุกรายการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ วัสดุอุปกรณ์ รองลงมา คือ ความเหมาะสม ของสถานที่ในการจัดโครงการ การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการและความพร้อมของบุคลากร
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าด้านกระบวนการของโครงการมีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงาน ภาพรวมในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณา แต่ละรายการ พบว่า ทุกรายการมีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงาน ในระดับมาก รายการที่มีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ การให้ความสำคัญจากผู้บริหารโรงเรียน รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้ การวางแผนดำเนินงาน กระบวนการนิเทศติดตามการประสานงานในโครงการและบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตร
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่าด้านผลผลิตของโครงการ มีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงาน ภาพรวมในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ ปริมาณแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนา รองลงมา คือ ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการและคุณภาพผู้เรียน ซึ่งมีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงานในระดับมากทุกรายการ
6. ภาพรวม พบว่า ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ โรงเรียนวัดมะนาวหวาน(ราษฎร์วิริยะบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ปการศึกษา 2561 ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่าการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน มีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงานในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีระดับการปฏิบัติหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ รองลงมา คือ ด้านผลผลิตของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการและด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ