รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน : นางรัชณงค์ หนูเวียง
ตำแหน่ง : ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนติ้ววิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40
ปีที่ศึกษา : 2553
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการศึกษา พบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพโดยรวม E1/E2 เท่ากับ 85.93/81.73 โดยมีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 83.13 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 81.73 ซึ่งชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. นักเรียนที่เรียนด้วยด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= 4.13 , = 0.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ นักเรียนมีความพอใจและมีความสุขกับการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ ว 31101 (= 4.13 , = 0.33) รองลงมา ได้แก่ บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรบันทึกกิจกรรม อ่านทำความเข้าใจได้ง่าย (= 4.20 , = 0.41) และรายข้อที่มีความพึงพอใจต่ำสุด ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาความรู้ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมได้ (= 4.06 , = 0.48)
ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนติ้ววิทยาคม จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 11 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วย t – test dependent