การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ผู้วิจัย อรุณี เจริญจิตรกรรม
ปีวิจัย 2559 -2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) 3) ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) 4) ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา ( Research and Development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรา มินทรภักดี) ปีการศึกษา 2559 จำนวน 61 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) ปีการศึกษา 2559 จำนวน 61 คน ด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) และกลุ่มตัวอย่างในการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion : FGD.) ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่บุคลากรในโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาอื่น จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาสาระของรูปแบบตามองค์ประกอบที่กำหนดกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยผู้เชี่ยวชาญจากการสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion : FGD.) ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่บุคลากรในโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาอื่น จำนวน 9 คน ตรวจประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยการอิงผู้เชี่ยวชาญ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและด้านการบริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 57 คน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธิน รามินทรภักดี) ปีการศึกษา 2560 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 292 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหาของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาในโรงเรียน 2) แบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus groups) 3) แบบประเมินเพื่อตรวจสอบความสอดคล้อง (IOC)ของรูปแบบ 4) แบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบ 5) แบบสอบถามครู นักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เพื่อประเมินโครงการ/ กิจกรรม 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองและครู และ 7) แบบทดสอบวัดคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียงสำหรับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.87) สภาพปัญหาของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ((x ) ̅= 2.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ((x ) ̅= 2.53) และด้านการติดตามและประเมินผลการศึกษา ((x ) ̅= 2.40)
2. รูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธิน รามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 องค์ประกอบของรูปแบบ มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมาย 3) การจัดองค์กร 4) การ ดำเนินการ 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ 6) การนำรูปแบบไปใช้ 7) เงื่อนไขความสำเร็จ และ8) คุณภาพนักเรียนตามคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียง ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบดังนี้ 1) การบริหารการศึกษา 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การจัดการเรียนการสอน 4) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) การติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา และ 6) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
3. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาสาระของรูปแบบตามองค์ประกอบที่กำหนดกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของร่างรูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 1.0 ทุกข้อ และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ((x ) ̅= 3.94)
4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี หลังการทดลองใช้โครงการ/ กิจกรรมและกระบวนการตามองค์ประกอบของรูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ทั้ง 10 โครงการ/กิจกรรม ภายในช่วงเวลา 1 ปีการศึกษา พบว่า 1) คุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) ส่วนใหญ่สูงขึ้นทุกด้าน 2) ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มที่มีต่อการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมตามรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกโครงการ/กิจกรรม 3) ครู นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมตามรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก