การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษากับทักษะใน
โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี)
ผู้วิจัย อรุณี เจริญจิตรกรรม
ปีวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) 2) ระดับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษากับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 473 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 57 คน นักเรียนและผู้ปกครองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 416 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษากับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)
สรุปผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
3. การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษากับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05