การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
วิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสุภาวดี ยนต์ชัย
หน่วยงาน โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5/1 โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์เอกสาร รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. สภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า สภาพปัญหาในการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นการสอน 5 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน (Reading comprehension) (2) ขั้นบูรณาการมโนมติ (Abstract thinking) (3) ขั้นการสอนและทดสอบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Teaching and Testing) (4) ขั้นการทบทวนและสะท้อนผล (Reviewing and Reflecting) (5) ขั้นประเมินผล (Evaluating) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.62/77.71 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.52 , S.D = 0.53 )