LASTEST NEWS

04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567ด่วน!!! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 1,530 อัตรา รับสมัคร 12-20 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567

การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง
กองการศึกษา เทศบาลตำบลลำน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ผู้วิจัย        นางสาวรัตนสุดา แก้วกันยา    ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง กองการศึกษา เทศบาลตำบลลำน้ำพอง
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย        2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง กองการศึกษา เทศบาลตำบลลำน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถเขียนเค้าโครงการวิจัยและทำวิจัยในชั้นเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบทดสอบมี 1 ฉบับใช้ก่อน - หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ มี 2 ฉบับประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบสัมภาษณ์การนิเทศ แบบสังเกตมี 2 ฉบับ 1) แบบสังเกตการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบสังเกต การนิเทศ แบบประเมินเค้าโครงวิจัย มี 1 ฉบับ แบบประเมินรายงานการวิจัย มี 1 ฉบับ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ร่วมวิจัยและชุดพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประกอบด้วยสาระสำคัญเกี่ยวกับการวิจัย ในชั้นเรียน มีทั้งหมด 9 หน่วยการเรียนรู้
    ผลการวิจัย พบว่า
การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง กองการศึกษา เทศบาลตำบลลำน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีผลสรุปการวิจัยดังนี้
1. ผลการพัฒนาในวงจรที่ 1
การดำเนินการพัฒนาในวงจรที่ 1 มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาบุคลากรครูให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้กรอบการพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ การกำหนดหัวข้อการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัย การดำเนินการวิจัย และการเขียนรายงานการวิจัย ในชั้นเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำวิจัยในชั้นเรียน และการนิเทศภายใน มีการสะท้อนผล ดังนี้


    1. การดำเนินการการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน
    1.1 การกำหนดหัวข้อการวิจัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยในช่วงแรกที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษา เอกสารการวิจัยในชั้นเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ไม่มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถที่จะกำหนดหัวข้อการวิจัยได้ แต่หลังจากได้ผ่านการศึกษาเอกสารการวิจัยใน ชั้นเรียน การประชุมปฏิบัติการและได้ฝึกตามกิจกรรม และนิเทศติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือแล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการกำหนดหัวข้อการวิจัยชัดเจนขึ้นมีความมั่นใจ ในการทำวิจัยในชั้นเรียนต่อไป
    1.2 การเขียนเค้าโครงการวิจัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยในช่วงแรกที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษาเอกสารการวิจัย การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ไม่สามารถที่จะเขียน เค้าโครงการวิจัยได้ แต่หลังจากที่ได้ผ่านการศึกษาเอกสาร การประชุมเชิงปฏิบัติการตามกิจกรรมและการนิเทศติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือแล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยชัดเจนขึ้น และในส่วนที่ยังไม่ชัดเจน ผู้ร่วมวิจัยยังมีความต้องการที่จะพัฒนา ในวงจรที่ 2 ต่อไป
1.3 การดำเนินการทำวิจัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยในช่วงแรกที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษาเอกสารการวิจัยทั้ง 9 เล่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ไม่สามารถที่จะเนินการทำวิจัยได้ แต่หลังจากที่ได้ผ่านการศึกษาเอกสาร การประชุมเชิงปฏิบัติการตามกิจกรรม และการนิเทศติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือแล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถ ดำเนินการทำวิจัยชัดเจนขึ้นในส่วนที่ยังไม่ชัดเจน และผู้วิจัยยังต้องการที่จะพัฒนาในวงจรที่ 2 ต่อไป
1.4 การเขียนรายงานการวิจัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยในช่วงแรกที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษา
เอกสารการวิจัย การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ไม่สามารถเขียนรายงานการวิจัยได้ แต่หลังจากได้ผ่านการศึกษาเอกสารการวิจัยในชั้นเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการตามกิจกรรม และการนิเทศติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือแล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยชัดเจนขึ้น ในส่วนที่ยังไม่ชัดเจนผู้ร่วมวิจัยยังต้องการที่จะพัฒนาในวงจรที่ 2 ต่อไป
    2. การทดสอบก่อนการประชุมและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการการทำวิจัยในชั้นเรียนการทดสอบผู้เข้ารับการประชุมก่อนการประชุมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 17.12 และ 13.00 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าร้อยละ 4.12 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หลังประชุม สูงกว่าก่อนประชุม คือ 0.75 และ 1.35 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการทำวิจัยในชั้นเรียน มีผลต่อการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนก้าวหน้ามากขึ้น และเมื่อทราบผลทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีความมั่นใจตนเองในการทำวิจัยมากขึ้น
2. ผลการพัฒนาในวงจรที่ 2
การดำเนินการพัฒนาในวงจรที่ 2 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน ตามกรอบการพัฒนา 3 ด้าน คือ การเขียน เค้าโครงการวิจัย การดำเนินการวิจัย และการเขียนรายงานการวิจัย โดยใช้กลยุทธ์การนิเทศภายในจำนวน 2 กิจกรรม คือ การนิเทศภายในโดยกิจกรรมการประชุมกลุ่ม และการนิเทศภายในโดยกิจกรรมพี่เลี้ยง มีการสะท้อนผล ดังนี้
1. การเขียนเค้าโครงการวิจัย หลังจากที่กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ผ่านการนิเทศภายในโดยกิจกรรมการประชุมกลุ่มตามแผน และการนิเทศภายในโดยกิจกรรมพี่เลี้ยง เพื่อติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือเป็นกลุ่ม และรายบุคคล ในวงจรที่ 2 แล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยชัดเจนขึ้น
2. การดำเนินการวิจัย หลังจากที่กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ผ่านการนิเทศภายในโดยกิจกรรม การประชุมกลุ่มตามแผน และการนิเทศภายในโดยกิจกรรมพี่เลี้ยงเพื่อติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือเป็นกลุ่ม และรายบุคคล ในวงจรที่ 2 แล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการดำเนินการวิจัย ชัดเจนในส่วนที่ยังไม่ชัดเจนในวงจรที่ 1 ขึ้นกว่าเดิม
3. การเขียนรายงานวิจัย หลังจากที่กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ผ่านการนิเทศภายในโดยกิจกรรมการประชุมกลุ่มตามแผน และการนิเทศภายในโดยกิจกรรมพี่เลี้ยงเพื่อติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือเป็นรายบุคคลในวงจรที่ 2 แล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ มั่นใจว่าจะทำได้ดีมากน้อยเพียงใดคือ การเขียนรายงานส่วนเนื้อหา ด้านการสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
จากผลการสะท้อนการดำเนินการเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
โดยได้ดำเนินการครบ 2 วงจร มีข้อค้นพบโดยรวม พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความรู้ความเข้าใจ และความสามารถเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เนื่องจากการศึกษาเอกสารการวิจัย การประชุมเชิงปฏิบัติการการทำวิจัยในชั้นเรียนและการนิเทศภายใน สามารถช่วยเหลือผู้ร่วมวิจัยให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ตามกรอบการศึกษาค้นคว้าทุกด้าน แต่อย่างไรก็ตามควรมีการส่งเสริมและพัฒนาให้บุคลากรได้มีการทำวิจัย ในชั้นเรียนอยู่เสมอ โดยโรงเรียนให้การสนับสนุนบุคลากรได้มีโอกาสในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^