รายงานการพัฒนาครูผู้สอนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
สะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ผู้ศึกษา วรวัช ธรรมวงศ์ ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การรายงานการพัฒนาครูผู้สอนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามแนวสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูในโรงเรียนขยายโอกาสระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาส ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบในเครือข่ายสถานศึกษาอำเภอเถิน จำนวน 6 โรงเรียน ที่เต็มใจและสมัครใจเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสังเกต จำนวน 3 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 3 ฉบับ แบบประเมินการสอนของครูจำนวน 1 ฉบับ และแบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา โดยใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศการสอน โดยการสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน
2. ผลการพัฒนาความสามารถด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษาของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ในวงรอบที่ 1 ในการอบรมเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา และการเขียนแผนการจัด การเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา ผู้ศึกษามีความเห็นว่า ครูกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา ในระดับดี ได้แนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา เพื่อนาไปใช้ในการเรียนการสอนกับนักเรียนได้จริง แต่การเขียนแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา พบว่า ครูกลุ่มเป้าหมายสามารถเขียนแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษาได้อยู่ในระดับปรับปรุง ซึ่งดำเนินการได้ดีพอใช้ สามารถดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษาได้ตามขั้นตอน โดยมีการกำหนดชื่อเรื่อง การศึกษาจุดประสงค์ วิชาหลักและวิชารองที่จะนำมาบูรณาการการตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อกำหนดเนื้อหาย่อย ซึ่งดำเนินการได้ดี มีการกระตุ้น ให้นักเรียนมีความ กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับจากง่ายไปหายาก มีการประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนตามสภาพจริง แต่ครูกลุ่มเป้าหมายทั้ง 6 คน ประสบปัญหา ในขั้นตอนการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมีกิจกรรมการเรียนรู้ไม่หลากหลาย การเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาสัมพันธ์กันไม่ชัดเจน การใช้สื่อการเรียนรู้ ไม่สอดคล้องกับกิจกรรม และสื่อไม่พอเพียง ทำให้การดำเนินกระบวนการเรียนการสอนสะดุด เป็นระยะ จึงได้ดำเนินการพัฒนาต่อไปในรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ คือ ครูกลุ่มเป้าหมายได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมจากากรศึกษาค้นคว้า จากตำรา เอกสารเกี่ยวกับการเขียนแผนการ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา การแลกเปลี่ยนและการนิเทศโดย การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน แต่เน้นประเด็นที่เป็นปัญหา ส่งผลให้ครูกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษามากขึ้น สามารถเขียนแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา ได้ในระดับ ดี มีการปรับปรุง การจัดกระบวน การเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษาดีขึ้น มีการกำหนดจุดมุ่งหมายในการบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา มีการกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามลำดับจากง่ายไปหายาก มีการประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน ตามสภาพจริงและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ประเมินตนเอง และปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ครูกลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้หลากหลายและเหมาะสม กับผู้เรียน บูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาเทคโนโลยี และวิศวกรรมเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี การใช้สื่อการเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรมและมีสื่อพอเพียงในการเรียน การสอน ทำให้จัดกระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปด้วยความราบรื่น ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน
จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง สังเกตเห็นว่า นักเรียนมีความสุขในการเรียน มีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนได้เรียนรู้จาก การคิด และปฏิบัติจริง เรียนรู้จากกลุ่มและเพื่อน และเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
3. ความพึงพอใจของครูในโรงเรียนขยายโอกาสระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามแนวสะเต็มศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.72 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42