รายงานผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน
เพื่อพัฒนาความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 1
(อายุ 3-4 ปี)
ผู้วิจัย นางสำรวย อุตชี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวดอนชาด สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฝาง
อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ จึงมีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของเด็กปฐมวัยปีที่ 1 (อายุ 3-4 ปี) โดยการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน (2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของเด็กปฐมวัยปีที่ 1 (อายุ 3-4 ปี) โดยการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กชาย – หญิง ที่กำลังศึกษาชั้นเด็กเล็กปีที่ 1 (3-4 ปี) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านหัวดอนชาด สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฝาง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ได้เด็กปฐมวัยปีที่ 1 (อายุ 3-4 ปี) จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ชนิด ประกอบด้วย (1) แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 1 (อายุ 3-4 ปี) จํานวน 20 แผน (2) แบบประเมินความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ระหวางเรียนของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 1 (อายุ 3-4 ปี) โดยใชกิจกรรมการละเลนพื้นบ้าน จํานวน 4 ฉบับ แบงตามความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ค่าความยากตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.20 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษา ปรากฏ ดังนี้
1. เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ก่อนการจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยภาพรวมเท่ากับ 16.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.74 คิดเป็นร้อยละ 41.18 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เท่ากับ 29.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.82 คิดเป็นร้อยละ 73.38 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1.1 ด้านทักษะทั่วไป ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมของกล้ามเนื้อมัดใหญ่เท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.46 คิดเป็นร้อยละ 46.47 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เท่ากับ 7.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.23 คิดเป็นร้อยละ 74.12
1.2 ด้านทักษะการทรงตัวก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมของกล้ามเนื้อมัดใหญ่เท่ากับ 4.18 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.42 คิดเป็นร้อยละ 41.76 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เท่ากับ 7.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77 คิดเป็นร้อยละ 72.94
1.3 ด้านทักษะการกระโดด ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมของกล้ามเนื้อมัดใหญ่เท่ากับ 3.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.11 คิดเป็นร้อยละ 31.18 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เท่ากับ 7.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.97 คิดเป็นร้อยละ 70.00 ตามลำดับ
1.4 ด้านทักษะการวิ่ง ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมของกล้ามเนื้อมัดใหญ่เท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.33 คิดเป็นร้อยละ 45.29 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เท่ากับ 7.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.17 คิดเป็นร้อยละ 76.47
2. เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ หลังการทำกิจกรรมความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านทักษะทั่วไป ด้านทักษะการทรงตัว ด้านทักษะการกระโดดและด้านทักษะการวิ่งสูงกว่าก่อนการทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05