การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
ประกอบชุดกิจกรรมวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อิเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางประภาภรณ์ พงษ์สิน ตำแหน่งครู โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ที่มีต่อแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียนเนื่องจากนักเรียนแต่ละห้องมีความสามารถคละกันอยู่แล้ว คือ เก่ง ปานกลาง และอ่อน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิชาภาษาไทย เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.12/80.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6773 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 67.73
3. นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรม วิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อิเหนา ตอน
ศึกกะหมังกุหนิง อยู่ในระดับมาก