วิจัยในชั้นเรียน การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
การศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
นางสาวกุลิสรา เบ้าสุข
ผู้วิจัย
โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
คำนำ
งานวิจัยเรื่องการศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ ซึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการจำคำศัพท์ในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบทดสอบภาอังกฤษที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น
ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การวิจัยเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษา
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทางด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นางสาวกุลิสรา เบ้าสุข
ผู้วิจัย
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้น ป. 6
ผู้วิจัย นางสาวกุลิสรา เบ้าสุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน ๒๔ คน
ระยะเวลาดำเนินงาน พฤษภาคม 25๖2 – กันยายน 25๖22
ปีการศึกษา 25๖2
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจดจำคำศัพท์ โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 25๖2 กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน ๒๔ คน โดยให้นักเรียนทดสอบเกี่ยวกับคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียนจากแบบทดสอบคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จำนวน 4 เรื่อง จากนั้นจึงทำการทดสอบหลังเรียน และวิเคราะห์ผลคะแนนโดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
ผลการศึกษาปรากฏว่า การใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความจำ ความเข้าใจในคำศัพท์และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากเดิม ดังจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 21.26
การศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้น ป. 6
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการเรียนภาษาไม่ว่าภาษาใด และระดับชั้นใดก็ตาม นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับตัวภาษาทั้งในด้านเสียง คำศัพท์และโครงสร้าง ถึงแม้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยจะเริ่มต้นมีมานานเป็นระยะเวลาหลายสิบปีก็ตาม แต่การเรียนการสอนก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะในระดับเริ่มต้น คือระดับประถมศึกษา จากสภาพปัญหาในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า เรื่อง คำศัพท์ เสียง โครงสร้างจะเป็นปัญหาในการพัฒนาความรู้และความเข้าใจในภาษาอังกฤษซึ่งนักเรียนไทยส่วนมากมักมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ค่อนข้างน้อยและ
ไม่เพียงพอดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของภาษาและความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการเรียนภาษา คำศัพท์เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนภาษาในด้านทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนได้ดีด้วย แต่ปัญหาในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยยังคงมีอยู่อีกมากมาย โดยเฉพาะนักเรียนในระดับประถมศึกษา ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ค่อนข้างอ่อนถึงปานกลาง แม้จะมีการท่องศัพท์ทุกวัน แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้นักเรียนจดจำคำศัพท์ได้ดี เนื่องจากความจำกัดของเวลา และปริมาณของคำศัพท์ที่มีมากเกินไป ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้พยายามศึกษาหาแนวทางที่จะช่วยให้นักเรียนได้จดจำคำศัพท์ และนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้มากขึ้น
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์ เล่นเกมเกี่ยวกับคำศัพท์และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์
3. ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย
อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา 25๖2 จำนวน ๒๔ คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 25๖2 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จำนวน ๒๔ คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
3.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 25๖2 จำนวน ๒๐ สัปดาห์
3.3 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
3.3.1 ตัวแปรต้น
1) วิธีสอนตามปกติ
2) วิธีการประเมินที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
3) การทดสอบทักษะในด้านการอ่านและข้อเสนอแนะ
3.3.๒ ตัวแปรตาม
1) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
2) ทักษะในด้านการอ่าน
4. กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คณะผู้วิจัยได้จัดทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ โดยใช้กิจกรรมการเขียนที่หลากหลายเพื่อช่วยพัฒนาการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และได้ทำการเปรียบเทียบผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คะแนนจากการทำแบบฝึกหัดแต่ละฉบับ เพื่อศึกษาพัฒนาการของนักเรียนหลังจากที่ได้มีการทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษซ้ำกันหลายๆครั้งว่ามีความแตกต่างหรือพัฒนาขึ้นหรือไม่
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้แบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ที่จะช่วยพัฒนาความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. ได้แนวทางในการฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบและกระตือรือร้นในการท่องและจดจำคำศัพท์
2. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษา คำที่คัดเลือกมาจากหมวดหมู่ต่างๆ จำนวนหมวดละ ๑๕ คำ
6. วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
๒๐ พฤษภาคม 25๖2 – 30 กันยายน 25๖2
วัน เดือน ปี กิจกรรม หมายเหตุ
13 – 30 มิถุนายน 25๖2 -ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา
1- 25 กรกฎาคม 25๖2 - เขียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
- ศึกษาหลักสูตรเกี่ยวกับคำศัพท์
- วิเคราะห์ผู้เรียนและวิเคราะห์เนื้อหา
- ออกแบบเครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัย
28 ก.ค. - 1 ส.ค.25๖2 - นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
4 - 8 สิงหาคม 25๖2 - นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ฉบับที่ 1 คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
11 – 15 สิงหาคม 25๖2 - นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ฉบับที่ 2 คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
18 -22 สิงหาคม 25๖2 - นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ฉบับที่ 3 คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
1 – 5 กันยายน 25๖2 - นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ฉบับที่ 4 คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
8 - 12 กันยายน 25๖2 - นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน คณะผู้วิจัยบันทึกคะแนน
15 – 30 กันยายน 25๖2 - เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
1 – 8 ตุลาคม 25๖2 - สรุปและอภิปรายผล
- จัดทำรูปเล่ม
7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบทดสอบวัดความรู้ด้านคำศัพท์ (Pre-test)
2. แบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ การสะกดคำ การหาความหมาย
3. แบบทดสอบวัดความรู้ด้านคำศัพท์ (Post-test)
ขั้นตอนการดำเนินการ
ในการดำเนินการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์ และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ คณะผู้วิจัยได้วางแผนการดำเนินการศึกษา สร้างแบบทดสอบ และแบบฝึกหัด โดยยึดคำศัพท์ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และได้ดำเนินการซึ่งมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นวิเคราะห์ ( Analysis)
1.1 วิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์ผู้เรียนได้กำหนดไว้ดังนี้
ประชากร คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 25๖2โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย มีจำนวน ๒๔ คน
1.2 วิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนดำเนินการมีดังนี้
เนื้อหาที่จะใช้สร้างแบบทดสอบ และแบบฝึกหัด คือเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษ
คำศัพท์ที่ใช้ในการทดลองเป็นคำศัพท์เกี่ยวกับคำนามจำนวน 11 หมวดหมู่ ซึ่งนำมาจากสมุดคำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นผู้คัดเลือกคำศัพท์จำนวน 50 คำตามหมวดหมู่ดังนี้
1.2.1 Things
- tissue paper, carton, ceiling, switch, toothbrush, toothpaste, fridge
1.2.2 Animals
- buffalo, elephant, mosquito
1.2.3 Fruit and vegetable
- mangosteen, lettuce, garlic, cabbage, vegetable
1.2.4 Parts of body
- knee, shoulder, elbow, chest
1.2.5 Person
- children, people, parents, daughter, cousin, boy scout
1.2.6 Occupations
- soldier, merchant, dressmaker, secretary, butcher
1.2.7 Food and drinks
- ice-cream, noodles, bread, fish sauce, pepper, sausage, juice
1.2.8 Toys
- balloon, marble
1.2.9 Clothes
- blouse, trousers, dress
1.2.10 Sports and Games
- volleyball, rugby, chess, scrabble
1.2.11 Places
- classroom, clinic, cinema, toilet
2 ขั้นออกแบบ (Design)
ขั้นออกแบบแบบทดสอบ และแบบฝึกหัดมีขั้นตอนดังนี้
1.1 แบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียน (Pre-test) จำนวน 50 ข้อ ตามหมวดหมู่คำศัพท์ที่กำหนดไว้โดยเป็นข้อสอบเขียนทั้งหมด
1.2 แบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์เป็นแบบฝึกหัดที่จะใช้ในการพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนโดยวิธีการเขียนแบ่งออกเป็น 4 ฉบับ แต่ละฉบับประกอบไปด้วยคำศัพท์ จำนวน 50 คำที่ผู้วิจัยได้คัดเลือกไว้ โดยในแต่ละแบบฝึกจะมีแบบฝึกหัดที่หลากหลายและเป็นคำศัพท์ชุดเดียวกัน
1.3 แบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียน (Post-test) จำนวน 50 ข้อ ตามหมวดหมู่คำศัพท์ที่กำหนดไว้โดยเป็นข้อสอบเขียนทั้งหมด โดยเป็นข้อสอบคนชุดกับแบบทดสอบก่อนเรียน
3. ขั้นดำเนินการ
มีการดำเนินการดังนี้
3.1 ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 25๖2 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย จำนวน 24 คน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียน และทำการบันทึกคะแนน
3.2 ดำเนินการพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนโดยใช้วิธีการเขียน การทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สัปดาห์ละ 1 ฉบับ พร้อมทั้งลงบันทึกคะแนน
3.3 ทำการทดสอบอีกครั้ง โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ของนักเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังเรียน
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 วิเคราะห์ข้อมูล
- วิเคราะห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบหลังเรียน
4.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4.2.1 การหาค่าเฉลี่ย ( x )
( x ) = x
N
เมื่อ x = ค่าเฉลี่ย
X = คะแนนที่ได้
N = จำนวนนักเรียนทั้งหมด
∑ = ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
4.2.2 การหาค่าร้อยละ
ค่าร้อยละ = คะแนนที่ได้ x 100
คะแนนเต็ม
5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำศัพท์ และทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ โดยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 25๖2 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย จำนวน ๒๔ คน คณะผู้วิจัยได้ทำการทดสอบก่อนเรียนโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียน แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ จำนวน 4 ฉบับโดยให้นักเรียนทำสัปดาห์ละ 1 ฉบับ จากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความจำศัพท์หลังเรียน โดยสามารถวิเคราะห์ผลได้ดังนี้
5.1 ผลการวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการจดจำคำศัพท์จากคะแนนแบบฝึกหัดทั้ง 4 ฉบับ
5.2 ผลการวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการจดจำคำศัพท์จากคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
5.3 ผลการวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการจดจำคำศัพท์จากคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน
แบบฝึกหัดและแบบทดสอบหลังเรียน
๖. สรุปผลการวิจัย
จากผลในการวิจัยในเรื่องการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งมีจำนวนนักเรียน 8 คน ได้แก่ ด.ช.ฐิติกร ยาชมภู, ด.ช.สุรศักดิ์ จิตตะคาม, ด.ช. ปรัญชัย วิมลเศรษฐ์, ด.ช. พิสิทธิ์ กาลวัย, ด.ญ.ปนัดดา วงษ์ทอง, ด.ญ.ชนิตา เทศวงศ์, ด.ญ.บัณฑิตา บุทองและด.ญ.นันธิดา โพธิ์นอก ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนเรียนโดยให้นักเรียนทดสอบอ่านแบบฝึกอ่าน ผลปรากฏว่านักเรียนสามารถอ่านคำที่กำหนดให้ได้อยู่ในเกณฑ์ 39 , 37, 43, 41 , 49 , 49 และ 37 ตามลำดับ ซึ่งจากผลดังกล่าว อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง ดังนั้นครูจึงใช้แนวการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการที่จะให้นักเรียนมีความเข้าใจในทักษะในด้านการอ่านสะกดคำ และได้ให้เพื่อนๆ ในห้องได้มีส่วนร่วมในการแนะนำหลักและวิธีในการอ่านสะกดคำ หลังจากนั้นครูได้ใช้ชุดแบบทดสอบชุดเดิม ให้นักเรียนได้ฝึกทดลองอ่านสะกดคำอีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏว่ามีนักเรียนที่มีพัฒนาการด้านทักษะการอ่านที่ดีขึ้น จำนวน 6 คน ได้แก่ ด.ช. ปรัญชัย วิมลเศรษฐ์, ด.ช. พิสิทธิ์ กาลวัย, ด.ญ.ปนัดดา วงษ์ทอง, ด.ญ.ชนิตา เทศวงศ์, ด.ญ.บัณฑิตา บุทองและด.ญ.นันธิดา โพธิ์นอก มีผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านสะกดคำโดยคิดเป็นร้อยละ 79 ,75, 74, 73 , 73 และ 72 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ ดี แสดงว่าหลังการจัดกิจกรรมการอ่านทั้ง 18 ชั่วโมงแล้ว นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการอ่านที่ดีขึ้น และยังมีนักเรียนอีก 2 คน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้แก่ ด.ช.ฐิติกร ยาชมภู และ ด.ช.สุรศักดิ์ จิตตะคาม มีผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านสะกดคำโดยคิดเป็นร้อยละ 44 และ 40 ตามลำดับ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลดังกล่าวเพื่อทำการวิจัยในครั้งต่อไป
๗. ข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งต่อไปควรคัดกรองนักเรียนตามความสามารถทางการเรียนรู้เพื่อจัดทำแบบฝึกได้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่ม