LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การพัฒนารูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School

usericon

ชื่อเรื่อง            การพัฒนารูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญา
            ของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม
ผู้วิจัย            นางเจียมจิตร สีสันต์
ตำแหน่ง     รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา        โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
            สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา         ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ในการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีขั้นตอน 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และความต้องการในการพัฒนา และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร และสภาพการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม การสังเคราะห์รูปแบบจากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในระยะที่ 1 มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดรูปแบบการสอนคิด และการประเมินรูปแบบการสอนคิด ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการสอนคิด โดยทดลองกับครู และนักเรียนโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญา
ของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม โดยผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครู จำนวน 32 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่ร่วมกิจกรรม “การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School” ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 469 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนทั้งหมดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบฯ และคู่มือการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญา ของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบประเมินสมรรถนะการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 27 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 - 0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 2.2) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ

มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

    การวิจัยครั้งนี้ สรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้
        1. สภาพการจัดการเรียนรู้ในการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม พบว่า พหุปัญญา ประกอบด้วย 1) ด้านภาษา 2) ด้านตรรกะ 3) ด้านมิติสัมพันธ์ 4) ด้านดนตรี 5) ด้านร่างกาย 6) ด้านความเข้าใจผู้อื่น 7) ด้านการเข้าใจตนเอง 8) ด้านธรรมชาติ และ 9) ด้านการคงอยู่ของชีวิต ส่วนในการสอนคิดและการเสริมสร้างพหุปัญญา พบว่า โรงเรียนมีหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล แต่ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นรูปธรรมที่สามารถนำไปปฏิบัติ ยังขาดการนำเนื้อหาและกิจกรรมในแต่ละสาระการเรียนรู้มาบูรณาการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ครูยังขาดแรงจูงใจ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะ
ในการสอนคิด
        2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้
ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 4.1) ขั้นการระบุปัญหา (Identify the problem) 4.2) ขั้นวางแผนพัฒนา (Plan) 4.3) ขั้นปฏิบัติการ(Do) และ 4.4) ขั้นสรุปองค์ความรู้และนำเสนองาน (Conclusion) และ 5) การวัดและประเมินผล มีผลการแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด ( = 4.57, = 0.64)
        3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
            3.1 ผลการประเมินสมรรถนะการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School
เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, = 0.63)
            3.2 ผลการประเมินพหุปัญญาของนักเรียนโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ประกอบด้วย
1) ด้านภาษา 2) ด้านตรรกะ 3) ด้านมิติสัมพันธ์ 4) ด้านดนตรี 5) ด้านร่างกาย 6) ด้านความเข้าใจผู้อื่น 7) ด้านการเข้าใจตนเอง 8) ด้านการเข้าใจธรรมชาติ 9) ด้านการคงอยู่ของชีวิต ในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก ( = 4.53, = 0.64)
        4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School
เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, = 0.63)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^