รายงานผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์
เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี)
ผู้ศึกษา นางพิสมัย บุญศร
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) และเพื่อเปรียบเทียบ ผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กชาย-หญิง อายุ 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่-ฝายใหญ่ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 13 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้ศึกษาดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยทำการศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ และคู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยการวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบ t-test (dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) หลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยรวมทุกด้านเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 76.08 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1.1 ด้านความคิดริเริ่ม ก่อนการทำกิจกรรมการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 37.95 หลังได้รับการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 73.59
1.2 ด้านความคิดคล่องแคล่ว ก่อนการทำกิจกรรมการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 39.04 หลังได้รับการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75.19
1.3 ด้านความคิดละเอียดลออ ก่อนการทำกิจกรรมในการจัดประสบการณ์แบบ
บูรณาการ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 40.77 หลังได้รับการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 77.18
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) หลังการทำกิจกรรมด้านความคิดริเริ่มด้านความคิดคล่องแคล่ว และด้านความคิดละเอียดลออ สูงกว่าก่อนการทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05