รายงานผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้การละเล่นของเด็กไทย
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี)
ผู้ศึกษา นางปัญญพร ศรีเที่ยง
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้การละเล่นของเด็กไทยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้การละเล่นของเด็กไทยเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กชาย – หญิง อายุ 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลxxx่กาสิงห์ สังกัดสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลxxx่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 16 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้ศึกษาดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ตั้งแต่วันที่ 2-27 กันยายน 2562 รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที รวมทั้งสิ้น 20 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมการละเล่นของเด็กไทยเป็นฐาน ประกอบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้การละเล่นของเด็กไทยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) แบบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) และแบบสังเกตความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของแผน การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้ของเด็กไทยเป็นฐาน โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ และเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของของเด็กไทยเป็นฐาน โดยการวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบ t-test (dependent)
ผลการศึกษาพบว่า แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้การละเล่นของเด็กไทย เป็นฐาน เป็นกระบวนการที่สามารถพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) หลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้การละเล่นของเด็กไทยเป็นฐาน สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้การละเล่นของเด็กไทยเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01