เผยแผร่ผลงานทางวิชาการ ปฐมวัย
ของเด็กปฐมวัย (3-4 ปี)
ผู้วิจัย นางศริญญา วรรณสินธ์
สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่น้อย องค์การบริหารส่วนตำบลดู่น้อย ตำบลดู่น้อย
อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย (3-4 ปี) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย (3–4 ปี) โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน กลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) ที่กำลังเรียนในปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่น้อย ตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านอีสาน เครื่องมือที่ใช้
ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมด้านสังคมระหว่างเรียนและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพัฒนาการด้านสังคม รูปแบบการวิจัย คือ รูปแบบการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นสังเกต (Observe) และขั้นสะท้อนผล (Reflection) ตามหลักการและขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ เคมมิสและแมกแทกการ์ท (Kemmis & Mctaggart) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน เด็กมีคะแนนจากการประเมินพัฒนาการด้านสังคมเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 21.61 คิดเป็น ร้อยละ 65.49 และเด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่จำนวน 6 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40.00 ของเด็กทั้งหมดและเพื่อพิจารณาจากคะแนนการประเมินพัฒนาการด้านสังคมหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน (วงจรปฏิบัติการที่ 3) พบว่าเด็กมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 29.28 คิดเป็นร้อยละ 88.74 และมีเด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่จำนวน 14 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 93.33 ของจำนวนเด็กทั้งหมดและเมื่อพิจารณารายบุคคล พบว่า เด็กทุกคนมีพัฒนาการด้านสังคมสูงขึ้น